ประวัติห้องสมุดมนุษย์
(Human
Library) ห้องสมุดมนุษย์
(Human Library)
คืออะไร
ห้องสมุดมนุษย์ คือ
สถานที่สำหรับห้องสมุดที่มีการจัดบริการหนังสือมีชีวิต
(Living Book) ซึ่งได้แก่
บุคคลผู้มีความรู้ในเรื่องต่าง ๆ
และประสงค์จะถ่ายทอดความรู้ แนวคิด
ประสบการณ์ แก่ผู้อื่น
ไว้บริการผู้อ่านที่สนใจ ในวัน เวลา
และสถานที่ที่กำหนด
โดยมีกระบวนการดำเนินงานการพัฒนาหนังสือมีชีวิตและการให้บริการคล้ายห้องสมุดทั่วไป
สำหรับการพัฒนาเครือข่ายห้องสมุดมนุษย์ในประเทศไทย
เริ่มครั้งแรกที่สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2553
โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. คงศักดิ์
สังฆมานนท์
ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มดำเนินการห้องสมุดในประเทศไทย
ได้มีแนวคิดว่าควรจัดเป็น
“เครือข่ายห้องสมุดมนุษย์ในห้องสมุดมนุษย์ในประเทศไทย
(Thailand Human Library Network :
THLN)”
เพื่อให้เกิดความร่วมมือกันระหว่างห้องสมุดในประเทศไทย
ในการจัดตั้งส่งเสริมและพัฒนาห้องสมุดมนุษย์ให้แพร่หลายและมีความก้าวหน้าอย่างยั่งยืนสืบไป
ปัจจุบันเครือข่ายห้องสมุดมนุษย์
(Human Library) ในประเทศไทย ประกอบด้วย
ห้องสมุดมนุษย์จากโรงเรียนและมหาวิทยาลัยต่าง
ๆ ได้เข้าร่วมเครือข่ายกว่า 44 สถาบัน
รวมถึงสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ได้เข้าร่วมเครือข่ายตั้งแต่ปี 2560
เป็นต้นมา