งานวิจัยด้านการบริหารการพัฒนา ที่ได้ศึกษาองค์ประกอบพื้นฐานทางเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่มีผลต่อการสร้างมาตรวัดชนชั้นทางสังคม และศึกษาผลของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศ ลักษณะส่วนบุคคล และการแบ่งชนชั้นทางสังคมที่มีต่อโอกาสชีวิต โดยผู้วิจัยได้สร้างมาตรวัดชนชั้นทางสังคมจากมาตรวัดการมีทรัพย์สินในครอบครอง การมีเทคโนโลยีสารสนเทศในครอบครอง การมีทรัพย์สินและเทคโนโลยีสารสนเทศในครอบครอง การศึกษา อาชีพ สถานภาพเศรษฐกิจและสังคม (Socio-economic status) แบบดั้งเดิม สถานภาพเศรษฐกิจและสังคมที่คำนึกถึงการใช้และการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศ การเข้าถึงและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ผลวิจัยพบว่า การศึกษาและอาชีพมีผลต่อการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทุกชนิด ส่วนคะแนนการมีทรัพย์สินในครอบครองมีความสัมพันธ์กับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเกือบทุกชนิด ยกเว้นโทรศัพท์มือถือ และบัตรเอทีเอ็ม ความเป็นชนชั้นด้านเศรษฐกิจและสังคมแบบดั้งเดิม รวมทั้งเพศและอายุมีความสัมพันธ์ในทางบวกกับการเข้าถึงและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เมื่อนำการเข้าถึงและการใช้เทคโนโลยีมารวมในมาตรวัดความเป็นชนชั้นยุคใหม่ พบว่า มาตรวัดดังกล่าวมีความสัมพันธ์กันกับโอกาสชีวิต ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเป็นชนชั้นที่เข้าถึง และใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ มีโอกาสชีวิตที่ดีกว่าชนชั้นที่ขาดการเข้าถึงและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ความเป็นชนชั้น นอกจากจะวัดจากองค์ประกอบด้านเศรษฐกิจและสังคมแล้ว ยังต้องคำนึงถึงความสำคัญของการเข้าถึงและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้วย เนื่องจากความเป็นชนชั้นในยุคปัจจุบันที่เกิดขึ้นจากการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศ จึงควรมีการศึกษาหามาตรการต่างๆ ที่เหมาะสมกับกลุ่มประชากรที่มีปัจจัยภูมิหลังแตกต่างกัน ได้เข้าถึงและใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ จะช่วยลดปัญหาความแตกต่างระหว่างชนชั้นในสังคมไทย ซึ่งจะสร้างปัญหาการพัฒนา เศรษฐกิจ สังคม การเมืองของประเทศในปัจจุบันและอนาคต
อ่านเพิ่มเติมได้ที่
Thai Digital Collection (TDC) >> https://bit.ly/3bLBkXb
*ใช้ฐานข้อมูล TDC จากภายนอกมหาวิทยาลัย ต้องใช้งานผ่านระบบ VPN เท่านั้น >> https://vpn.ssru.ac.th/
![]() |
ชื่องานวิจัย: การสร้างมาตรวัดชนชั้นทางสังคมในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งมีอิทธพลต่อโอกาสชีวิต
ผู้แต่ง: สมชาย ลังกะสูตร