งานวิจัยที่หาวิธีการแปรรูปขยะอินทรีย์ให้เป็นไบโอดีเซลและแก๊สชีวภาพในชุมชน ตำบลบางแค จังหวัดสมุทรสงคราม ดำเนินการวิเคราะห์หาวิธีการแปรรูปขยะอินทรีย์ให้สามารถนำมาใช้เป็นพลังงานทดแทนในรูปแบบของแก๊สชีวภาพ และไบโอดีเซล โดยอาศัยเทคโนโลยีชีวภาพและวิธีทางเคมี ในระดับห้องปฏิบัติการ ทดสอบความเหมาะสมของการแปรรูปขยะอินทรีย์ให้เป็นพลังงานทดแทนในรูปแบบของไบโอดีเซลและแก๊สชีวภาพ ในระดับห้องปฏิบัติการ และหาแนวทางการพัฒนาแปรรูปขยะอินทรีย์ให้เป็นพลังงานทดแทน ผลการตรวจสอบปริมาณของน้ำมันพืชที่ผ่านการใช้แล้วและจากการล้างภาชนะในครัวเรือนเฉลี่ย 400 หลังคาเรือน พบว่า มีปริมาณร้อยละโดยน้ำหนัก 1.5 และ 0.2 ตามลำดับ กรดไขมันอิสระ (Free Fatty acid) ออกานิกคาร์บอน (TOC) ไนโตรเจนรวม และปริมาณกรดอินทรีย์เท่ากับ 25.2-52.6, 125.5-325, 46.-5.6, และ 1.5-3.4 ตามลำดับ
สำหรับผลการนำขยะอินทรีย์ประเภทเศษอาหารผสมกับเปลือกผลไม้ ประเภทเปลือกกล้วย เปลือกส้มโอ ในสัดส่วน 1:1 ร่วมกับมูลโคผลิตเป็นแก๊สชีวภาพได้สูงสูดถึง 18 ลิตร ที่ระยะเวลาผ่านไป 35 วัน ผลการแปรรูปน้ำมันพืชที่ผ่านการใช้แล้วและน้ำมันจากบ่อดักไขมันผลิตเป็นไบโอดีเซลที่จากกระบวนทำปฏิกิริยา Transesterification ได้ร้อยละ 80-85 และร้อยละ 50-55 ตามลำดับ และสามารถพัฒนาออกแบบเป็นชุดสาธิตขนาดเล็กที่มีกำลังการผลิตครั้งละ ประมาณ 5 ลิตร และระบบผลิตแก๊สชีวภาพที่มีขนาดของความจุของปริมาณแก๊สชีวภาพ 5-10 ลิตร โดยทำการทดสอบในระดับห้องปฏิบัติการที่สามารถต่อยอดไปสู่การใช้ประโยชน์ในชุมชนต่อไป
อ่านเพิ่มเติมได้ที่
Thai Digital Collection (TDC) >> https://bit.ly/3Sa6jAt
*ใช้ฐานข้อมูล TDC จากภายนอกมหาวิทยาลัย ต้องใช้งานผ่านระบบ VPN เท่านั้น >> https://vpn.ssru.ac.th/
ชื่องานวิจัย: รายงานการวิจัยเรื่องเครื่องต้นแบบการแปรรูปขยะอินทรีย์ให้เป็นไบโอดีเซลและแก๊สชีวภาพในชุมชนตำบลบางแค จังหวัดสมุทรสงคราม
ผู้แต่ง: วิทยา เมฆขำ และชัยศรี ธาราสวัสดิ์พิพัฒน์
---------------------------------------------
ข้อมูลและภาพประกอบ : วีรวรรณ ศรีสวัสดิ์