การศึกษาเรื่องตัวแบบปริมาณน้ำฝนของประเทศไทย ผู้วิจัยได้สร้างตัวแบบปริมาณน้ำฝนในประเทศไทย และพยากรณ์ปริมาณน้ำฝนในอนาคตจากตัวแบบปริมาณน้ำฝนที่มีประสิทธิภาพที่ดีที่สุด โดยใช้ข้อมูลปริมาณน้ำฝนในแต่ละเดือน ตั้งแต่มกราคม พ.ศ. 2538 ถึง ธันวาคม พ.ศ.2548
แล้วนำมาสร้างตัวแบบปริมาณน้ำฝนของประเทศไทยด้วยวิธีการพยากรณ์ข้อมูลอนุกรมเวลาแบบต่าง ๆ ได้แก่ วิธีการทำให้เรียบแบบเอ๊กซ์โพแนนเชียลสำหรับตัวแบบการบวก วิธีการทำให้เรียบแบบเอ๊กซ์โพแนนเชียลสำหรับตัวแบบการคูณ วิธีการทำให้เรียบด้วยค่าความคลาดเคลื่อนสำหรับตัวแบบการบวก วิธีการทำให้เรียบด้วยค่าความคลาดเคลื่อนสำหรับตัวแบบการคูณ และวิธีบ๊อกส์และเจนกินส์
จากประสิทธิภาพของการพยากรณ์ปริมาณน้ำฝนของประเทศไทยจาก 5 วิธีข้างต้น พิจารณาจากค่าพยากรณ์ที่ได้ดีที่สุด พบว่า วิธีบ๊อกส์และเจนกินส์ เป็นตัวแบบปริมาณน้ำฝนของประเทศไทยที่เหมาะสมที่สุด
อ่านเพิ่มเติมได้ที่
Thai Digital Collection (TDC) >> https://bit.ly/3qexDSz
*ใช้ฐานข้อมูล TDC จากภายนอกมหาวิทยาลัย ต้องใช้งานผ่านระบบ VPN เท่านั้น >> https://vpn.ssru.ac.th/
![]() |
ชื่องานวิจัย: รายงานการวิจัยเรื่องตัวแบบปริมาณน้ำฝนในประเทศไทย
ผู้แต่ง: ชูเกียรติ ผุดพรมราช และสมรวย อภิชาติบุตรพงศ์
เลขเรียกหนังสือ: ว.จ 519.55072 ช642ร
จองอ่านฉบับพิมพ์ที่ >>> https://bit.ly/3yPoK3h