การวิจัยเรื่อง “ยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมย่านเยาวราช ศึกษากรณี : เทศกาลกินเจ” ผู้วิจัยได้ดำเนินการเก็บข้อมูลจากนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวชมงานที่เยาวราช พบว่า ผู้ที่มาเที่ยวจะเป็นผู้ที่เคยมาเยาวราชแล้ว และส่วนใหญ่จะมาเพื่อซื้อของกินของใช้มากที่สุด รองลงมาเป็นเทศกาลกินเจ, เทศกาลตรุษจีน และเทศกาลอื่น ๆ ตามลำดับ และเกือบครึ่งหนึ่งให้ความเห็นว่า ความน่าสนใจในงานเทศกาลกินเจนั้น มีความน่าสนใจเหมือนเดิม
ผู้ที่มาเที่ยวงานส่วนใหญ่มีความประทับใจในด้านประเพณีมากที่สุด รองลงมาเป็นอาหารปรุงสำเร็จ, สินค้าอุปโภคบริโภค, สถานที่และกิจกรรมบันเทิง ตามลำดับ ส่วนใหญ่มีความเห็นว่า งานมีความน่าสนใจและคาดว่าจะกลับมาเที่ยวอีก ส่วนความภูมิใจในความเป็นท้องถิ่นนั้น เกือบทั้งหมดรู้สึกถึงความภูมิใจ และมีความสนใจท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมประเพณี ผู้ที่มาเที่ยวชมงานนมีความสนใจที่อยากจะรู้เรื่องวัฒนธรรมประเพณีมากขึ้น ส่วนในเรื่องความสนใจท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมประเพณีนั้น ต่างมีความสนใจมากขึ้นกว่าก่อนที่มาชมงาน
ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะให้ผู้จัดงานควรให้ความสำคัญกับการสร้างความประทับใจในด้านของกิจกรรมบันเทิงมากที่สุด เพราะกิจกรรมบันเทิงเป็นปัจจัยด้านเดียว ที่สามารถส่งผลบวกต่อวัตถุประสงค์ของผู้จัดงานในทุก ๆ ด้าน ปัจจัยรองลงมาที่ควรให้ความสำคัญคือ ด้านของสถานที่ กิจกรรมประเพณี และด้านของอาหาร ส่วนปัจจัยในด้านสินค้าอุปโภคบริโภคนั้น ไม่ส่งผลต่อวัตถุประสงค์ของผู้จัดงานในด้านใดเลย ดังนั้นผู้จัดงานจึงควรให้ความสำคัญกับปัจจัยด้านนี้น้อยที่สุด
![]() |
ชื่องานวิจัย: รายงานวิจัยยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมย่านเยาวราช ศึกษากรณี : เทศกาลกินเจ
ผู้แต่ง: สมศักดิ์ คล้ายสังข์
เลขเรียกหนังสือ: ว.จ 353.77072 ส282ร
จองอ่านฉบับพิมพ์ที่ >>> https://bit.ly/3yPoK3h
อ่านเพิ่มเติมได้ที่
Thai Digital Collection (TDC) >> https://bit.ly/2YArvIC
*ใช้ฐานข้อมูล TDC จากภายนอกมหาวิทยาลัย ต้องใช้งานผ่านระบบ VPN เท่านั้น >> https://vpn.ssru.ac.th/