การวิจัยที่สร้างรูปแบบนวัตกรรมการจัดการปัญหาการทุจริตตามระบบและเชิงพฤติกรรมในการจัดซื้อจัดจ้างของรัฐบาล โดยศึกษาจากพฤติกรรมของผู้รับผิดชอบโครงการจัดซื้อจัดจ้าง ที่ส่อเจตนากระทำการทุจริต ในการประกวดราคาด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ และวิธีเปิดซอง ผลการวิจัยได้พบพฤติกรรมเด่น คดีทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างตามระบบ มีฐานความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มีความถี่ฐานความผิดจากมากไปหาน้อยตามลำดับ คือ หลีกเลี่ยงระบบ อาศัยระเบียบ มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อผลประโยชน์ของตนเองและผู้อื่น เลือกปฏิบัติ ปลอมเอกสาร ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบ และรับสินบน ส่วนการทุจริตเชิงพฤติกรรม โดยไม่มีความเกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้าง มีฐานความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มีความถี่ฐานความผิดจากมากไปหาน้อยตามลำดับ คือ เบียดบังทรัพย์หลวง ปลอมเอกสาร เลือกปฏิบัติ รับสินบน และใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบ
ซึ่งคดีทั้งสองส่วนที่กล่าว ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกันโดยตรง บางส่วนมีความแตกต่างกัน และบางส่วนได้แสดงพฤติกรรมของ “คน” เป็นส่วนเชื่อมโยง มีความสัมพันธ์ทางรูปแบบคล้ายกันทั้งสองส่วน ซึ่งมีความเกี่ยวเนื่องสอดคล้องสัมพันธ์กันกับ 4แนวคิดทฤษฎี คือ ทฤษฎีหัวหน้า – ตัวแทน ทฤษฎีค่าเช่าและการแสวงหาค่าเช่า ทฤษฎีการขัดกันแห่งผลประโยชน์ และทฤษฎีแรงจูงใจของมนุษย์ การศึกษานี้ทำให้เกิดแนวคิด สามารถนำมาสร้างเป็นรูปแบบ “สามเหลี่ยมสามสัมพันธ์” เป็นข้อค้นพบที่น่าประหลาดใจของปรากฏการณ์ร่วมเหตุเกิดขึ้นพร้อมกัน สอดคล้องกัน และมีความผิด หรือมีพฤติกรรมความผิด ถูกตัดสินลงโทษในมาตราเดียวกันเป็นส่วนใหญ่ จำเลยเป็นผู้กระทำ ความผิด การทุจริตทั้งตามระบบและเชิงพฤติกรรม แสดงถึงการมีกายทุจริตซึ่งน่าจะเกิดจากมีมโนทุจริตที่คล้ายกัน
อ่านเพิ่มเติมได้ที่
Digital Library >> https://bit.ly/3lY0qaW
Thai Digital Collection (TDC) >> https://bit.ly/3IMbFNq
*ใช้ฐานข้อมูล TDC จากภายนอกมหาวิทยาลัย ต้องใช้งานผ่านระบบ VPN เท่านั้น >> https://vpn.ssru.ac.th/
![]() |
ชื่องานวิจัย: นวัตกรรมการจัดการปัญหาการทุจริตตามระบบและเชิงพฤติกรรมในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ
ผู้แต่ง: เครือวัลย์ สมณะ
เลขเรียกหนังสือ: ว.พ 364.168072 ค759น
จองอ่านฉบับพิมพ์ที่ >>> https://bit.ly/3yPoK3h