งานวิจัยที่ได้ทำการสำรวจระดับการรับรู้ของผู้บริโภค ที่มีต่อร้านค้าปลีกดั้งเดิมในเขตกรุงเทพมหานคร ในด้านทำเลที่ตั้ง คุณภาพบริการ ความเสี่ยง ความเพลิดเพลินในการซื้อ ความคุ้มค่าเงิน ความพึงพอใจในการซื้อ และความตั้งใจซื้อในอนาคต สำรวจอิทธิพลของปัจจัยด้านทำเลที่ตั้ง คุณภาพบริการ ความเสี่ยง ความเพลิดเพลิน ในการซื้อความคุ้มค่าเงิน และความพึงพอใจในการซื้อที่มีต่อความตั้งใจซื้อในอนาคตของผู้บริโภคร้านค้าปลีกดั้งเดิมในเขตกรุงเทพมหานคร รวมทั้งสำรวจปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาร้านค้าปลีกดั้งเดิมในเขตกรุงเทพมหานคร
ผลวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า ผู้บริโภคของร้านค้าปลีกดั้งเดิมในเขตธนบุรี กรุงเทพมหานครมีระดับการรับรู้ในปัจจัยด้านความเสี่ยง ความตั้งใจซื้อในอนาคต และทำเลที่ตั้ง อยู่ในระดับมาก และรับรู้ปัจจัยด้านความพึงพอใจในการซื้อ ความเพลิดเพลินในการซื้อ คุณภาพบริการ และความคุ้มค่าเงินอยู่ในระดับปานกลาง อีกทั้งปัจจัยด้านทำเลที่ตั้ง คุณภาพบริการ ความเสี่ยง ความเพลิดเพลินในการซื้อ และความคุ้มค่าเงิน มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการซื้อ และความพึงพอใจในการซื้อมีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อในอนาคต ส่วนผลวิจัยเชิงคุณภาพนั้น สภาพตัวแปรทุกตัวมีความสอดคล้องกับผลการวิจัยเชิงปริมาณ ทั้งยังพบว่า ทำเลที่ตั้งของร้านค้าปลีกดั้งเดิมมีความสะดวกในการเดินทาง ช่วยประหยัดเวลา ค่าใช้จ่าย และเป็นแหล่งพบปะสังสรรค์ของคนในชุมชน
อ่านเพิ่มเติมได้ที่
Digital Library >> https://bit.ly/3dSwNDE
Thai Digital Collection (TDC) >> https://bit.ly/3ITBAD3
*ใช้ฐานข้อมูล TDC จากภายนอกมหาวิทยาลัย ต้องใช้งานผ่านระบบ VPN เท่านั้น >> https://vpn.ssru.ac.th/
![]() |
ชื่องานวิจัย: ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาร้านค้าปลีกดั้งเดิมในเขตกรุงเทพมหานคร
ผู้แต่ง: ศุภรา เจริญภูมิ
เลขเรียกหนังสือ: ว.พ 658.041072 ศ715ป
จองอ่านฉบับพิมพ์ที่ >>> https://bit.ly/3yPoK3h
---------------------------------------------
ภาพจาก: https://readthecloud.co/thai-grocery/