หน้าหลัก > ข่าว > บทความที่น่าสนใจ > รู้จัก “แพลนต์เบสด์” อาหารสุขภาพ ต้านโรคกลุ่ม NCDs
รู้จัก “แพลนต์เบสด์” อาหารสุขภาพ ต้านโรคกลุ่ม NCDs

ผู้ดูแลเว็บ admin
2024-09-02 13:48:18

วรลักษณ์ ผ่องสุขสวัสดิ์. (2567, กรกฏาคม), รู้จัก “แพลนต์เบสด์” อาหารสุขภาพ ต้านโรคกลุ่ม NCDs : ชีวจิต : 6-9

            นอกจากอาหารจะช่วยให้ท้องอิ่มพลังงาน ร่างกายมี สามารถขับเคลื่อนกิจกรรมต่างๆ ในแต่ละวันได้แล้ว อาหารยังสัมพันธ์กับสุขภาพมนุษย์อีกด้วย

            หากได้กินอาหารที่ดี ร่างกายก็มีโอกาสแข็งแรง หากกินอาหารที่ไม่ดี ร่างกายก็มีโรคภัยรุมเร้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มโรค NCDs เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง อ้วน โรคเกี่ยวกับหลอดเลือด ที่สําคัญกลุ่มโรคนี้ ยังเป็นสาเหตุการเสียชีวิตและความพิการอันดับต้นๆ ในคนทั่วโลก

            “แพลนด์เบสต์” (Plant-Based Diet) เป็นรูปแบบ การกินอาหารแบบหนึ่งที่ได้ชื่อว่า “ดีต่อสุขภาพ ช่วย ป้องกันควบคุมโรค NCDs จึงช่วยชะลอการเสียชีวิตได้”  

            อาหารแพลนต์เบส มีกี่แบบ มีวิธีกิน อย่างไร ผลวิจัยอาหารแพลนต์เบสต์ที่ทดลองในคนไทย สรุปได้ดังนี้

            อาหารมังสวิรัต (Vegetarian)

            การกินอาหารที่ไม่มีเนื้อสัตว์เป็นส่วนประกอบ เน้นสารอาหาร จากพืชผักผลไม้ มังสวิรัติยังแบ่งแยกย่อยได้อีก 7 กลุ่ม ซึ่งกินเนื้อสัตว์เล็กและผลิตภัณฑ์จากสัตว์ได้ ได้แก่

  •                   • มังสวิรัตไข่ (Ovo-Vegetarian)  กินพืชผักผลไม้และไข่ แต่ไม่กินเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากนมทุกประเภท
  •                   • มังสวิรัตนม (Lacto-Vegetarian) กินพืชผักผลไม้ นมและผลิตภัณฑ์จากนมและผลิตภัณฑ์จากไข่ทุกประเภท
  •                   • มังสวิรัตินมและไข่ กินพืชผักผลไม้ ไป และนม แต่ไม่กินเนื้อสัตว์ทุกประเภท
  •                   • มังสวิรัติแบบยืดหยุ่น (Flexitarian) กินพืชผักผลไม้ ไก่ และปลา โดยกินสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง
  •                   • มังสวิรัติปลา (Pescatarian) กินพืชผักผลไม้ นม ไข่ ปลา และหอย แต่ไม่กินเนื้อสัตว์ทุกประเภท
  •                   • กึ่งงมังสวิรัติ (Pollotarian) กินพืชผักผลไม้ นม ไข่ ไก่ และปลา แต่ไม่กินเนื้อสัตว์ใหญ่หรือเนื้อแดง
  •                   • มังสวิรัติบริสุทธิ์หรือวีแกน (Vegan) จะกินพืชผักผลไม้เท่านั้น และไม่ใช้เครื่องปรุงรส ผลิตภัณฑ์ใด ๆ ที่มาจากสัตวที่มาจากสัตว์หรือมีสัตว์เป็นส่วนประกอบ เช่น น้ำผึ้ง เจลาติน รวมทั้งไม่สนับสนุนกิจกรรมที่เบียดเบียนสัตว์ทุกชนิดทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยทั้งหมดนี้เกี่ยวข้องกับการรักษาสิ่งแวดล้อมเท่านั้น

            อาหารเจ กินพืชผักผลไม้เป็นหลักเช่นเดียวกับมังสวิรัติและวิแกน แต่งดกินผักที่มีกลิ่นฉุน 5 ชนิด ได้แก่ กระเทียม หัวหอม กระเทียมโทนจีน กุยช่าย และใบยาสูบ

            อาหารชีวจิต มีพื้นฐานจากอาหารแมคโครไบโอติกส์ แต่นํามาปรับใช้ให้เข้ากับอาหารของคนไทย ได้แก่ แป้งไม่ขัดสี ผักดิบและสุก ถั่วต่าง ๆ และผลิตภัณฑ์จากถั่ว โปรตีนจากปลาและอาหารทะเล