พรสรัญ รุ่งเจริญกิจกุล. (2567, กรกฏาคม), รู้จักการ Trade-Off อย่างฉลาด : Gourmet & Cuisine : 126
เราทุกคนมีเวลา พลังงาน และทรัพยากรที่จํากัด จึงไม่สามารถทําทุกสิ่งทุกอย่างที่ต้องการได้ตลอดเวลา การทําความเข้าใจและจัดการกับ Trade-Off อย่างมีประสิทธิภาพจึงเป็นทักษะที่สําคัญในการใช้ชีวิต
Trade-Off หมายถึง การแลกเปลี่ยนระหว่าง สองสิง ไม่สามารถได้มาพร้อมกันอย่างเต็มที่ ซึ่งการตัดสินใจเลือกสิ่งหนึ่งจะต้องเสียสละ อีกสิ่งหนึ่งไปบ้างในระดับหนึ่ง ฉะนั้นสิ่งที่ดีที่สุด ที่เราสามารถทําได้คือการตัดสินใจแลกเปลี่ยน ระหว่างสองสิ่งอย่างมีประสิทธิภาพและมีเหตุผล เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดในสถานการณ์นั้น ๆ
การ Trade-Off เพื่อสร้างความมั่งคั่ง ด้านการเงิน : ต้องเข้าใจหลักการเกี่ยวกับ ต้นทุนค่าเสียโอกาส (Opportunity Cost) ก่อนตัดสินใจใด ๆ ให้คิดเสมอว่าเราจะสูญเสีย อะไรบ้างจากการเลือก ก. และไม่เลือก ข.
พยายามหาทางให้ต้นทุนค่าเสียโอกาสอยู่ใน ระดับต่ำที่สุด โดยค่านึงถึงความจําเป็นและเป้าหมายด้านการเงินไว้ด้วย
การ Trade-Off เพื่อการเติบโต : หากเรา ใช้ชีวิตแบบเดิม ๆ โดยไม่กล้าเปลี่ยนแปลงอะไร แน่นอนว่าชีวิตก็จะเหมือนเดิม บางครั้งเราอาจจําเป็นต้องยอมเสียความมั่นคงทางการเงินในวันนี้ เพื่อเพิ่มศักยภาพในวันพรุ่งนี้ หรือ ยอมเสียสละเวลาและความสะดวกสบายในปัจจุบัน เพื่อเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ ที่จําเป็นต่อความก้าวหน้าในอนาคต หรือยอมเปลี่ยน นิสัยบางอย่างเพื่อรักษาความสัมพันธ์ ดิเอาไว้ เป็นต้น
แนวทางทั่วไปเพื่อการ Trade-Off อย่างฉลาด มีดังนี้
• ระบุเป้าหมายและลําดับความสําคัญ เข้าใจว่าเราต้องการอะไร และสิ่งใดสําคัญทีสุด
• ประเมินข้อดีข้อเสีย ทําความเข้าใจผล และผลเสียของแต่ละทางเลือกในเชิงลึก
• รวบรวมข้อมูลและทําวิจัย จัดให้มีข้อมูล เพียงพอเพื่อให้เห็นภาพรวม และเข้าใจ ผลกระทบของแต่ละตัวเลือก
• พิจารณาผลกระทบทั้งระยะสั้นและ ระยะยาว บางครั้งการตัดสินใจที่ดูดี ในระยะสั้น อาจมีผลเสียในระยะยาว ก่อนตัดสินใจใดๆ หากเราใช้หลักการดังกล่าว มาพิจารณาแทนที่จะใช้ความรู้สึกอย่างเดียว จะช่วยให้การเลือกหรือการ
แลกเปลี่ยนทีมีผลได้ผลเสียแตกต่างกัน เป็นไปอย่างมีเหตุผลและได้ประโยชน์เสมอ