หน้าหลัก > ข่าว > บทความที่น่าสนใจ > ลด –เพิ่ม-ปรับ—เปลี่ยน ให้พฤติกรรมการกิน “ไม่ขาด ไม่เกิน”
ลด –เพิ่ม-ปรับ—เปลี่ยน ให้พฤติกรรมการกิน “ไม่ขาด ไม่เกิน”

ผู้ดูแลเว็บ admin
2022-12-02 13:25:11

นายแพทย์อนันต์ โลหะพัฒนะบำรุง, (2565, ตุลาคม–ธันวาคม), ลด –เพิ่ม-ปรับ—เปลี่ยน ให้พฤติกรรมการกิน “ไม่ขาด            ไม่เกิน” : ทิศไท 13 (50) : 45-47


        พฤติกรรมการกินของคนไทยยุคใหม่กำลังเปลี่ยนไป ยิ่งช่วงหลังโควิด-๑๙ หลายผลสำรวจพบว่าคนไทยมีการกินไร้สมดุล ล้น เกิน หรือขาดแคลนอย่างหนักแต่เรากลับได้รับอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพน้อยลง

        สังเกตตัวเองไหมว่าเรากินอาหารไขมันสูง โซเดียมสูง รวมถึงน้ำตาลเพิ่มขึ้น แต่กลับกินผักผลไม้น้อยมาก “จากข้อมูล พฤติกรรมสุขภาพของประชาการ ปี ๒๕๖๔”  โดยสำนักงานสถติแห่งชาติ พบว่า พฤติกรรมของคนไทยที่นิยมรรับประทานเป็นประจำ คืออาหารไขมันสูง ๔๒% อาหารแปรรูป ๓๙% และเครื่องดื่มเติมน้ำตาลบรรจุขวดที่ไม่มีแอลกอฮอล์ ๓๔% สะท้อนให้เห็นว่าคนไทยกำลังขาดความมั่นคงทางอาหาร และเสี่ยงต่อการป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในระยะยาว

        พฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ส่อถึงการขาดความมั่นคงทางอาหารกลุ่มวัยเรียน จะมีผลต่อ ภาวะอ้วน  น้ำหนักเพิ่มสูงขึ้น รวมถึงเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน และไขมันในเลือดสูง ในอนาคต

        การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินโดยทันที อาจเป็นเรื่องยากและอาจส่งผลเสียต่อร่างกาย ให้เริ่มต้นด้วยการปรับพฤติกรรมแบบง่าย ประกอบด้วย 4 ข้อ คือ ลด- เพิ่ม- ปรับ-เปลี่ยน

        เริ่มจาก ลด อาหารหวาน เค็มมัน เลี่ยงของทอด น้ำอัดลม เนื้อสัตว์แปรรูป หันมากินอาหารที่ทำจากเนื้อสัตว์แท้ ๆ แทน เพื่อให้ได้สารอาหารที่มากขึ้น

        ต่อมาคือ เพิ่ม โดยการกินผักผลไม้มากขึ้น เพื่อเพิ่มไฟเบอร์ เพื่อปรับพฤติกรรมให้เคยชิน

        ปรับ คือการปรับพฤติกรรมตนเอง ควรหันมาออกกำลังกายวันละ 30-60 นาที อ่านฉลากข้างผลิตภัณฑ์ก่อนเลือกซื้อ

        และสุดท้ายคือ เปลี่ยน  คือเปลี่ยนของที่ดีต่อสุขภาพตัวเอง เช่น เปลี่ยนน้ำหวานหรือน้ำอัดลมเป็น นม เปลี่ยนเมนูไข่ดาว เป็น ไข่ต้ม เป็นต้น

          การจะมีสุขภาพที่ดีได้ นอกจากออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอแล้ว การเลือกรับประทานอาหารก็สำคัญ 

เพราะการมีสุขภาพที่ดี ถือเป็นกำไรชีวิตในระยะยาว