ฐากูร กู้เกียรติกูล. (2565, มกราคม), สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากผักและผลไม้ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ : Food Focus Thailand 17 (190) : 64
![]() |
ในรายงานเรื่องอาหารและโรคมะเร็ง ปี 1982 ได้รวบรวมแนวทางความสำคัญในการบริโภคผักและผลไม้ในมื้ออาหาร โดยข้อมูลที่โดดเด่นคือ คุณประโยชน์ของผลไม้รสเปรี้ยว ผักที่มีแคโรทีนสูง และผักตระกูลกะหล่ำ สามารถช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งได้
สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพหรือที่เรียกว่า สารพฤกษเคมีเป็นสารประกอบหนึ่งในพืชที่พบได้ในผลไม้ ผัก ธัญพืช และอาหารจากพืชอื่น ๆ โดยจะสะสมอยู่ในส่วนต่าง ๆ เช่น เมล็ด เปลือก ราก หรือผลไม้ทั้งผล ผักและผลไม้ไม่เพียงแต่เป็นแหล่งของวิตามิน แร่ธาตุ และใยอาหารที่สำคัญในอาหาร แต่ยังมีสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพมากมาย เช่น ฟลาโวนอยด์ ฟลาโวน ไอโซฟลาโวน แค่โรทีนอยด์ โพลีฟินอล เป็นต้น
ตัวอย่างของสารออกฤทธิทางชีวภาพในผักและผลไม้ มีดังนี้
- อะโวคาโด มีสารอาหารในปริมาณสูง เช่นไขมันดี ไฟเบอร์ โฟเลต และวิตามินเค ซี บี 5 บี 6
นอกจากนี้ การบริโภคอะโวคาโดยังช่วยให้ร่างกายสามารถดูดซึมสารต้านอนุมูลอิสระจากแหล่งอาหารอื่นได้มากขึ้น
- เบอร์รี่ เป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยสารอาหาร เช่น แอนโธไซยานิตินฟลาโวนอยด์ เรสเวอราทรอล
เป็นต้น เบอร์รี่ช่วยป้องกันโรคต่าง ๆ เช่น ต้อหิน เส้นเลือดขอด โรคหัวใจ และโรคมะเร็ง
- บร็อคโคลี มีสารซัลโฟราเฟน ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงชองมะเร็งเต้านม
- คะน้าใบหยัก มีสารแคโรทีนอยด์ ที่ทำให้ผิวเปล่งปลั่ง มีเลือดฝาด สามารถช่วยรักษาโรคต้อหินได้
เนื่องจากมีลูทีนและซีแซนทีน
- ซีแซนทีน สามารถพบได้ในผักโขม ซึ่งเป็นแค่โรทีนนอยด์ ที่ถูกดูดซึมเข้าสู่จุดรับภาพของดวงตา
จึงอาจช่วยป้องกัน “โรคจุดภาพที่จอตาเสื่อมในผู้สูงอายุ”