(2566, กุมภาพันธ์), บ๊วยมีดีไม่ใช่แค่กินเล่น : เทคโนโลยีชาวบ้าน : 785 : 44
![]() |
hinese plum หรือ Ume ชื่อเรียกใน ภาษาญี่ปุ่น ปลูกได้ง่ายตามพื้นที่สูง ในภาคเหนือของบ้านเรา เนื่องจากมีอากาศเย็นตลอดทั้งปี ผลของบ๊วยถูกนํามาแปรรูปได้หลายรูปแบบ เช่น เหล้าบ๊วย ซอสปรุง รส ขนมหวาน บ๊วยดอง บ๊วยเค็ม บ๊วยหวาน เป็นต้น ซึ่งผลิตภัณฑ์เหล่านี้เป็นที่นิยมในตลาดพอ สมควร มีรายงานมูลค่าการตลาดของเหล้าบ๊วยใน ประเทศไทยว่า สูงถึง 36 ล้านบาทเลยทีเดียว มีอากาศเย็นตลอดทั้งปี
สรรพคุณทางยาของบ๊วยรักษาอาการไอ บรรเทาอาการอ่อนเพลีย บรรเทาอาการคลื่นไส้ อาเจียน ช่วยรักษาอาการท้องร่วงได้ โดย มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์สนับสนุนข้อมูลจาก ภูมิปัญญาอยู่หลายงานวิจัยด้วยกัน
สารสกัดบ๊วยยังมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ รวมทั้งพบสารกลุ่มไตรเตอร์ปีนอยด์ (triterpenoids) ซึ่งมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ Helico-bacter pylori แบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร และยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคในช่องปาก
การศึกษาทางคลินิกแบบในอาสาสมัครสุขภาพดีจำนวน 45 คน ให้กินสารสกัดของบ๊วย เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมเป็นเวลา 3 เดือน ผลการทดสอบพบว่าสารสกัดบ๊วยมีฤทธิ์ลดประมาณของ alanine aminotransferase (ALT) aspartate aminotransferase (AST) และ gamma-glutamyl transpeptidase (GGT) แปลว่า ได้ผลในทางที่ดี เพราะหากค่าเหล่านี้สูง อาจหมายถึงสุขภาพของตับมีปัญหา นอกจากนี้ สารสกัดบ๊วยยังน่าจะดีต่อผู้ป่วยเบาหวาน เนื่องจากพบฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด และมีผลในการเปลี่ยนแปลงระดับไขมัน โดยเพิ่มระดับไขมันดี และลดระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดได้
ในเบื้องต้นจึงสรุปได้ว่า บ๊วยใม่ใด้เพียงแค่การแปรรูปแล้วน่ามากินเป็นของกินเล่นเท่านั้น เมื่อนํามาทําเป็นสารสกัดยังมีฤทธิ์ปกป้องการทํางานของตับและอาจมีประโยชน์กับโรคเรื้อรังอย่างโรคเบาหวาน โรคที่เกิดจากการอักเสบ แต่อย่างไรก็ตาม คงต้องมีการศึกษาในผู้ป่วยจริง เพื่อยืนยันถึงประสิทธิภาพของบ๊วยในการน่ามารักษาโรคต่าง ๆ ต่อไป