นพ.สุรเกียรติ อาชามานุภาพ, (2565, ธันวาคม), 10 วิธีบริหารสมองมนุษย์ในชีวิตประจำวัน : นิตยสารหมอชาวบ้าน (524) : 12-14
“เป้าหมายของชีวิตคือ ความสุข สงบเย็น” คนส่วนใหญ่ตระหนักถึงความต้องการสูงสุดของชีวิต ซึ่งเกิดจากการทำหน้าที่อันสมบูรณ์ของสมองส่วนหน้า หรือ “สมองมนุษย์” คือการเรียนรู้อยู่เพื่อมีชีวิตอย่างมีความหมาย และเรียนรู้เพื่อความอยู่รอดปลอดภัยและควรหมั่นบริหารสมองโดยปฏิบัติตน ดังต่อไปนี้
1. ออกกำลังกาย พร้อมกับการบริหารจิดไปในตัวโดยการใช้สติระลึกรู้อยู่กับจังหวะการเคลื่อนไหว
2. นอนหลับให้เพียงพอ ประมาณคืนละ 7-9 ชั่วโมง หลีกเลี่ยงการอดนอนและการมีอารมณ์เครียดติดต่อ
กันนาน ๆ เพราะมิผลลบต่อร่างกาย สมอง และจิตใจ
3. บริโภคอาหารสุขภาพ โดยการลดหวาน มัน เค็ม หันมากินปลา กินผักและผลไม้ให้มากๆ และหลีกเลี่ยงหลีกเลี่ยงการบริโภคสุรา ยาสูบ และสารเสพติด
4. หมั่นเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ โดยการอ่าน การฟัง การค้นคว้า การหาประสบการณ์ใหม่ ๆ การฝึกใช้ความคิด
ความคิดเป็นประจำ เช่น การฝึกแก้ปัญหา
5. ฝึกสมาธิ เช่น ฝึกอานาปานสติ สวดมนด์ ใหวัพระ เดินจงกรม ทำละหมาด วันละอย่างนัอย 1-2 ครั้ง
นานครั้งละ 5-30 นาที ช่วยให้จิตใจมั่นคง สงบเย็น
6. เจริญสติ-รู้ตัวกับอิริยาบถและกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ระลึกรู้ตัวอยู่กับการนั่ง นอน ยืน เดิน ให้มีความ
ตื่นรู้อยู่กับบัจจุบันทุกขณะ
7. ฝึกใช้ลมหายใจเป็นระฆังแห่งสติ ด้วยการตามรู้ลมหายใจเข้าออก เพียง 1-3 รอบ ทำบ่อย ๆ จนเป็น
นิสัย รวมทั้งรู้ทันและควบคุมอารมณ์ได้
8. ฝึกพักใจและสมองเป็นระยะๆ ในแต่ละวัน เช่น หยุดใช้ความคิด โดยหันมาชื่นชมธรรมชาติหรือ
ศิลปกรรมนานครั้งละ 2-3 นาที การพักใจและสมองช่วยให้มีพลังในการทำงานได้ไม่เหนื่อยล้า
9. เจริญปัญญาจากการสังเกตธรรมชาติของสรรพสิ่ง ว่าเกิดขึ้นด้วยเหตุบัจจัยมากมายที่มีการแปรเปลี่ยนตลอดเวลา ไม่ควรยึดมันถือมันในสิ่งใด ๆ ทั้งสิ้น
10. ฝึกคิคดี-พูดดี-ทำดี ให้เป็นนิสัย เช่น หมั่นทำงานจิตอาสา ฝึกฟังคนอื่น รู้จักชื่นชม ให้กำลังใจตนเอง
และคนรอบช้าง