![]() |
ชิงหมิง
(Qīngmíngjié) หรือ
เช็งเม้ง แปลความหมายตามตัวหมายความถึง
ช่วงเวลาแห่งความแจ่มใส รื่นรมย์
เนื่องจากจะเริ่มต้นเทศกาลในช่วงต้นเดือนเมษายนซึ่งเป็นฤดูใบไม้ผลิในประเทศจีน
และเป็นช่วงเวลาที่อากาศกลับมาแจ่มใสหลังผ่านฤดูหนาว
สำหรับในประเทศไทยเทศกาลเช็งเม้ง
ถือวันที่ 5 เมษายนเป็นหลัก แต่เช็งเม้ง
2566 เลื่อนขึ้นมาเป็นวันที่ 15 มีนาคม -
8 เมษายน 2566
เพื่อเลี่ยงการจราจรที่ติดขัดในช่วงเทศกาลสงกรานต์
ประเพณีที่สำคัญในเทศกาลนี้
คือการเดินทางไปไหว้บรรพบุรุษที่สุสาน
เพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ
ตามความเชื่อจากลัทธิขงจื๊อ
โดยลูกหลานที่แยกย้ายไปทำงานหรือแยกไปมีครอบครัวจะเดินทางกลับมารวมตัวเพื่อไหว้สุสานของบรรพบุรุษอย่างพร้อมหน้าพร้อมตา
โดยกิจกรรมที่ทำร่วมกันได้แก่
การทำความสะอาดและตกแต่งฮวงซุ้ย
กราบไหว้เจ้าที่และบรรพบุรุษ
เผากระดาษเงินกระดาษทอง จุดประทัด
และรับประทานอาหารร่วมกัน
ของไหว้ในเทศกาลเช็งเม้งจะแยกเป็นของไหว้เจ้าที่ซึ่งจะจัดเป็นเนื้อสัตว์
ขนม ผลไม้และเหล้า
ส่วนของไหว้บรรพบุรุษจะเน้นไปที่อาหารที่บรรพบุรุษชอบ
เนื้อสัตว์ ขนม ผลไม้
และเหล้า
เรื่องและภาพประกอบ : รัชนก ทองขาวขำ