![]() |
ไม้ เมืองเดิม กฤษณะ
พึ่งบุญ และ กฤษณ์ พึ่งบุญฤทธิ์
เป็นนามปากกาของ ก้าน พึ่งบุญ ณ อยุธยา
(16 มิถุนายน พ.ศ. 2448 – 4 มีนาคม
พ.ศ. 2485)
ผลงานของไม้ เมืองเดิม
มีความโดดเด่นด้านสำนวนภาษาเฉพาะตัวที่เรียกว่าสำนวนลูกทุ่ง
นำเสนอเนื้อเรื่องที่เกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านในสังคมชนบทไทยเป็นหลัก
นอกเหนือจากคุณค่าทางวรรณศิลป์
งานเขียนของ ไม้ เมืองเดิม
ยังมีแง่มุมทางความคิดแสดงให้เห็นถึงระบอบสังคมแบบชาวบ้านในสังคมและวัฒนธรรมไทย
ซึ่งเป็นสิ่งที่คอยโอบอุ้มให้สมาชิกในสังคมได้อยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข
งานเขียนที่มีชื่อเสียงที่สุดของ
ไม้ เมืองเดิม ได้แก่เรื่อง แผลเก่า
ซึ่งถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์และละครโทรทัศน์หลายครั้ง
ภาพยนตร์ แผลเก่า ฉบับปี 2520
ได้รับคัดเลือกให้เป็น 1 ใน 100
ภาพยนตร์ไทยที่คนไทยควรดู
ได้รับรางวัลทั้งในประเทศและต่างประเทศหลายครั้ง
และได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภาพยนตร์ของชาติ
ก่อนจะมีชื่อเสียงกับเรื่องแผลเก่า
ก้านใช้นามปากกา กฤษณ์ พึ่งบุญฤทธิ์
เขียนเรื่อง ชาววัง ในปี พ.ศ. 2478
ซึ่งเป็นเรื่องของหญิงรักหญิง
เป็นวรรณกรรมเสียดสีสังคมที่ค่อนข้างล้ำสมัยและได้รับคำวิจารณ์ทางลบอย่างยิ่งในสมัยนั้น
ก้าน พึ่งบุญ ณ
อยุธยา เสียชีวิตด้วยวัยเพียง 37 ปี
จากโรคพิษสุราเรื้อรัง
ทิ้งไว้เพียงงานเขียนที่เป็นวรรณกรรมอมตะที่คนไทยจดจำได้ไม่ลืม
คอลเลคชัน
“ย้อนอดีตกับไม้
เมืองเดิม”
-
แผลเก่า / ไม้ เมืองเดิม (2544) น
ม962ผ
- สำเภาล่ม /
ไม้เมืองเดิม (2538) น ม962ส
- เสือข้าม / ไม้เมืองเดิม (2538) น
ม962ส
- แสนแสบ / ไม้
เมืองเดิม (2537) น ม962ส
- ชายสามโบสถ์ / ไม้ เมืองเดิม
(2537) น ม962ช
- ขุนศึก
/ ไม้ เมืองเดิม (2548) น ม969ข
- บางระจัน / ไม้เมืองเดิม (2538) น
ม962บ
- รอยไถ / ไม้
เมืองเดิม ([2544]) น ม962ร
- ล้างบาง / ไม้ เมืองเดิม (2538) น
ม962ล