![]() |
อยู่กับโควิดในฐานะโรคประจำถิ่น
•
สวมหน้ากากเมื่ออยู่ในที่แออัด
หรือเป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูง
หรือเป็นผู้ป่วย
การสวมหน้ากากอนามัยยังช่วยป้องกันโรคติดต่ออื่นๆ
เช่น ไข้หวัด วัณโรค ฝีดาษลิง
• เว้นระยะห่าง 1-2 เมตร
ถ้าสามารถทำได้
•
ใช้ช้อนกลางเมื่อรับประทานอาหาร
ป้องกันโรคติดต่อทางน้ำลาย เช่น ไข้หวัด
ไวรัสตับอักเสบ เริม
• ล้างมือก่อนรับประทานอาหาร
ป้องกันได้ทั้งโรคทางเดินหายใจและโรคทางเดินอาหาร
เช่น ท้องร่วง ไข้หวัด วัณโรค
• ตรวจ ATK
เมื่อมีอาการผิดปกติ เช่น มีไข้ ไอ เจ็บคอ
แยกกักตัวตามคำแนะนำของแพทย์
•
ฉีดวัคซีนป้องกันตามคำแนะนำของแพทย์
ประกาศราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ วันที่ 23
มิถุนายน พ.ศ. 2565
ประกาศให้การสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าให้เป็นการปฏิบัติโดยความสมัครใจ
โดยแนะนําให้ประชาชนทั่วไปสวมหน้ากากอนามัยเมื่ออยู่ร่วมกับ
บุคคลอื่นในสถานที่หรือในพื้นที่แออัด
มีการรวมกลุ่มคนจํานวนมาก
ไม่สามารถเว้นระยะห่างได้
หรืออากาศระบายถ่ายเทไม่ดีเพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อหรือรับเชื้อ
กรณีเป็นผู้เข้าข่ายเสี่ยงที่เมื่อติดเชื้อโควิด
- 19
จะมีอาการรุนแรงหรือความเสี่ยงสูงต่อการ
เสียชีวิต (กลุ่ม 609)
หรือผู้ที่มีโรคประจําตัวเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจควรสวมหน้ากากอนามัย
อย่างถูกวิธีตลอดเวลาเมื่อต้องอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นเพื่อลดความเสี่ยงในการรับเชื้อ
และกรณีเป็นผู้ติดเชื้อ โควิด - 19
หรือผู้สัมผัสเสี่ยงสูงจากเชื้อโควิด - 19
จําเป็นต้องสวมหน้ากากอนามัยอย่างถูกวิธี
ตลอดเวลาเมื่ออยู่ร่วมกับบุคคลอื่นเพื่อลดความเสี่ยงและป้องกันการแพร่โรค
เรื่อง
: รัชนก ทองขาวขำ
ภาพ :
สสส.