งานวิจัยที่ศึกษาบริบท แนวคิด หลักการออกแบบ ความรู้ที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ตามความหมายมงคลในภูมิปัญญาตะวันออกและเอกลักษณ์การใช้สื่อความหมายมาประยุกต์ เข้าสู่กระบวนการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนประเภทของที่ระลึก ทั้งยังพัฒนาให้ผลิตภัณฑ์ชุมชนประเภทของที่ระลึกเกิดภาพลักษณ์ร่วมสมัยของความเป็นไทยและความเป็นสากล จากการบูรณาการความสัมพันธ์ขององค์ประกอบในหลักการออกแบบและเสริมความหมายมงคลในภูมิปัญญาตะวันออก ผู้วิจัยสอบถามเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลทางการออกแบบกับประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร แล้วทำการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ ประเมินความเหมาะสมของรูปแบบในการบูรณาการความหมายมงคลต่อการออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก
ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบที่จะสามารถสื่อถึงความหมายมงคลได้เป็นอย่างดีที่สุด คือ สี ความหมายมงคลมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าของที่ระลึก การนำความหมายมงคลมาใช้สามารถเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ได้ และควรนำความหมายมงคลมาประยุกต์ใช้กับผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกเพื่อนำมาซึ่งมงคลต่อผู้รับ ผลการวิเคราะห์การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกโดยผู้เชี่ยวชาญการออกแบบ คือ นาฬิกา กระถางไม้มงคล ปลาตะเพียน เฟอร์นิเจอร์เก็บของ พวงกุญแจอัญมณี โอ่งผ้าไหม ที่ออกแบบและพัฒนาจากการบูรณาการความหมายมงคลตามหลักภูมิปัญญาตะวันออกนั้น มีความเหมาะสมกับประโยชน์ใช้สอย เหมาะสมกับวัสดุและกรรมวิธีการผลิต มีความสวยงาม อยู่ในระดับดีที่สุด
อ่านเพิ่มเติมได้ที่
Thai Digital Collection (TDC) >> https://bit.ly/3kwHdfu
*ใช้ฐานข้อมูล TDC จากภายนอกมหาวิทยาลัย ต้องใช้งานผ่านระบบ VPN เท่านั้น >> https://vpn.ssru.ac.th/
![]() |
ชื่องานวิจัย: รายงานการวิจัยเรื่องบูรณาการออกแบบสร้างสรรค์และเสริมความหมายมงคลในภูมิปัญญาตะวันออกเพื่อสร้างนวัตกรรมและมูลค่าเพิ่มในผลิตภัณฑ์ชุมชนประเภทของที่ระลึก
ผู้แต่ง: จง บุญประชา และสมสกุล จีระศิลป์