เมื่อพูดถึงอาหารชาววังคนทั่วไปมักจะคิดถึงอาหารที่ใช้วัตถุดิบชั้นดี ปรุงอย่างพิถีพิถันและจัดตกแต่งอย่างปราณีต
ทั้งที่ความจริงแล้วอาหารชาววังบางครั้งเกิดจากความต้องการที่จะถนอมรักษาอาหารสดตามฤดูกาล การจัดการของเหลือทิ้ง หรือแม้แต่ความบังเอิญ
เช่นอาหารประเภทแกงชนิดหนึ่งที่เกิดจากความพยายามของพนักงานห้องเครื่องในวังสวนสุนันทา ที่จะบริหารจัดการวัตถุดิบและอาหารเหลือที่ถูกส่งกลับเข้ามาในครัว
โดยหม่อมเจ้าหญิงสะบาย นิลรัตน์ หัวหน้าห้องเครื่องคาวในขณะนั้น ได้คิดนำเนื้อวัวที่เหลือจากจานเนื้อผัดพริกอ่อนลงต้มในน้ำซุป ปรุงรสด้วยน้ำพริกกะปิจากสำรับเครื่องจิ้ม และตั้งชื่อแกงดัดแปลงนี้ว่า “แกงรัญจวน”
สูตรแกงรัญจวนเขียนไว้โดยหม่อมหลวงเนื่อง นิลรัตน์ จากหนังสือชีวิตในวัง เล่ม 2
แกงรัญจวน
เครื่องปรุง
เนื้อวัว น้ำพริกกะปิอย่างจิ้มผัก ตำไว้ถ้วยโตๆ ตะไคร้หั่นฝอย
วิธีทำ
1. ปอกหอมเล็ก ปอกกระเทียมใช้ทั้งกลีบไม่ต้องหั่น ใส่ต้มรวมลงไปกับหม้อเนื้อ เนื้อเปื่อยดีแล้ว เทน้ำพริกกะปิรวมลงในหม้อ
2. ชิมให้ได้ ๓ รส เปรี้ยว เค็ม หวาน รสจัดๆได้ที่แล้ว ยกลง ใส่ใบโหระพา ไม่เปรี้ยวบีบมะนาวเติม ต้องกินกำลังร้อนโฉ่ ถ้าไม่กินเนื้อ จะแกงด้วยหมู ไก่ กุ้ง ย่อมได้
คอลเลคชั่น “อาหารชาววัง” คัดสรรโดยศูนย์วิทยบริการฯ
1. ตำรากับข้าวในวังของหม่อมหลวงเนื่อง นิลรัตน์ / หม่อมหลวงเนื่อง นิลรัตน์ ; ปรุงอาหาร นิจ เหลี่ยมอุไร ; บรรณาธิการ กัลยาณี (บัวสรวง) วสุวานิช (2549)
เลขหมู่ : 641.5 น878ต
2. ชีวิตในบ้านกับตำรับอาหารชาววัง / ม.ล. เนื่อง นิลรัตน์ (2545)
เลขหมู่ : 641.5 น878ช
3.ชีวิตในวัง / ม.ล. เนื่อง นิลรัตน์ (2542)
เลขหมู่ : 641.5 น878ช
4. ตำรับสายเยาวภา / สายปัญญาสมาคมในพระบรมราชินูปถัมภ์ (2523)
เลขหมู่ : 641.5 ต366
5. ตำรากับข้าวไทย ตำรับพระวิมาดาเธอ กรมพระสุทธาสินีนาฏ / โดย สำนักศิลปวัฒนธรรม สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา (2544)
เลขหมู่ : 641.5 ต367
6. กับข้าวรัตนโกสินทร์ 2525 และภาพสีงานศิลปกรรมไทย / หม่อมหลวงเติม ชุมสาย ; จักรพันธุ์ โปษยะกฤต, ภาพ (2525)
เลขหมู่ : 641.5 ต