การแสดงพื้นบ้านเป็นสิ่งที่สะท้อนลักษณะเด่นของวิถีชีวิตชุมชนในแต่ละท้องถิ่น ที่ถือกำเนิด สืบทอด และพัฒนาจากรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่ง เกิดจากการอยู่ร่วมกันในสังคมที่เป็นหมู่เหล่า มีการประกอบอาชีพเกษตรกรรม เป็นวิถีชีวิตของชุมชนชาวไทย จังหวัดสุโขทัยเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีวัฒนธรรมอันเป็นมรดกทางสังคม วิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่แฝงไปด้วยความงดงาม จนยอมรับกันว่าเป็นดินแดนที่มีเสน่ห์ทางวัฒนธรรม มีศิลปะการแสดงพื้นบ้านที่แสดงออกถึงวิถีชีวิตที่เป็นเอกลักษณ์ประจำท้องถิ่น
ร่วมเรียนรู้การแสดงพื้นบ้านของจังหวัดสุโขทัย ผ่านงานวิจัยของสมบูรณ์ พนเสาวภาคย์ ที่ศึกษาความเป็นมาองค์ประกอบของการแสดงพื้นบ้าน อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย ในด้านท่ารำ จังหวะ ทำนองเพลง บทร้องเครื่องดนตรี เครื่องแต่งกาย และอุปกรณ์ที่ใช้ในการแสดงของการแสดงพื้นบ้าน โดยศึกษาข้อมูลจากเอกสาร งานวิจัย รวมทั้งสัมภาษณ์ครูสอนนาฏศิลป์ และชาวบ้าน ที่เคยได้รับการถ่ายทอดท่ารำ ร่วมแสดง หรือรับชมการแสดง ทำให้ทราบความเป็นมาของการแสดงพื้นบ้าน ทั้งรำมังคละ รำวงแบบบท เพลงฉุยฉายเข้าวัด รำกลองยาวสุโขทัย และรำเกราะโปง ซึ่งเป็นการแสดงพื้นบ้านที่สะท้อนวิถีชีวิตของชุมชน แต่ละชุดจะมีเอกลักษณ์ของตนเอง มีท่ารำเลียนแบบธรรมชาติ เทียบเคียงกับท่ารำนาฏศิลป์ไทยพื้นฐาน เน้นความสนุกสนานและสื่อความหมายให้ผู้ชมเข้าใจได้ง่าย ทำนองเพลงเป็นอัตราจังหวะชั้นเดียว และแตกต่างกันตามชุดการแสดง
สามารถศึกษาเพิ่มเติมจากฉบับออนไลน์ได้ที่>>> https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show...
***การเข้าใช้งานฐานข้อมูล TDC จากภายนอกมหาวิทยาลัย ต้องใช้งานผ่านระบบ VPN เท่านั้น คลิก>>> https://vpn.ssru.ac.th/ ***
------------------------------------------------------------
ชื่องานวิจัย: การแสดงพื้นบ้านอำเภอศรีสำโรง
ผู้แต่ง: สมบูรณ์ พนเสาวภาคย์
เลขเรียกหนังสือ: ว.พ 793.31072 ส258ก
จองอ่านฉบับพิมพ์ได้ที่>>> http://www.e-lib.ssru.ac.th:8080/liberty/libraryHome.do