งานวิจัยที่ศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างแรงสนับสนุนทางสังคมกับคุณภาพชีวิต รวมทั้งทำนายปัจจัยที่มีต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยจิตเภท โดยผู้วิจัยได้ทำการศึกษากับผู้ป่วยโรคจิตเภทด้วยการเลือกสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ และใช้แบบสอบถามแรงสนับสนุนทางสังคมกับคุณภาพชีวิตเป็นเครื่องมือในการศึกษาวิจัย ตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ วิเคราะห์ความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา มากกว่า 0.80 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน
ผลการศึกษาพบว่า ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวทำนายกับตัวเกณฑ์ มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ภายในตัวแปรทำนายและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคจิตเภทมีความสัมพันธ์ทางบวกทุกตัวแปร ตัวทำนายที่ดีในการทำนายคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคจิตเภท ได้แก่ การตอบสนองความต้องการด้านอารมณ์ ความช่วยเหลือด้านข้อมูลข่าวสาร การมีส่วนร่วม และยอมรับในฐานะส่วนหนึ่งของสังคม สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของคุณภาพชีวิตของ ผู้ป่วยโรคจิตเภทได้ร้อยละ 43.3 มีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานในการทำนายเท่ากับ 8.67 สำหรับข้อเสนอแนะนั้น ครอบครัวและผู้ให้บริการควรให้การสนับสนุนทางสังคมด้านการมีส่วนร่วมและยอมรับในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ให้ความสำคัญกับผู้ป่วย จะทำให้ผู้ปุวยจิตเภทมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิต และให้โอกาสจิตเภทผู้ป่วยในการทำงาน
อ่านเพิ่มเติมได้ที่
Thai Digital Collection (TDC) >> https://bit.ly/3sJ7vP8
*ใช้ฐานข้อมูล TDC จากภายนอกมหาวิทยาลัย ต้องใช้งานผ่านระบบ VPN เท่านั้น >> https://vpn.ssru.ac.th/
![]() |
ชื่องานวิจัย: แรงสนับสนุนทางสังคมกับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยจิตเภท
ผู้แต่ง: ฐิตวันต์ หงษ์กิตติยานนท์ และวชิรพร โชติพานัส