ชะคราม (Suaeda maritima) เป็นผักพื้นบ้าน พบได้ในป่าชายเลนและเจริญเติบโตได้ดีในดินเค็ม และทนต่อความเค็ม มักถูกนำมาประกอบอาหาร เช่น แกง ยำ หรือเป็นเครื่องเคียงจิ้มกับน้ำพริก ชะครามสดไม่สามารถเก็บไว้ได้นาน ผู้วิจัยจึงได้นำชะครามมาอบแห้ง ซึ่งเป็นการถนอมอาหารและยืดอายุการเก็บรักษา และนำชะครามอบแห้งนั้น มาเป็นส่วนผสมในการทำอาหารว่างที่คนไทยส่วนใหญ่นิยมรับประทาน คือ ขนมกุยช่าย และขนมข้าวเกรียบปากหม้อ
ผลการทดสอบความพึงพอใจทางประสาทสัมผัสของผู้บริโภคทั้ง 5 ปัจจัย เช่น รสชาติ สี กลิ่น ความเค็ม และความชอบ พบว่า ขนมกุยช่ายไส้ชะคราม ยังไม่ได้รับความพึงพอใจจากผู้บริโภคเท่าที่ควร เมื่อเทียบกับขนมกุยช่ายจากผักกุยช่ายแบบดั้งเดิม เนื่องจากความเค็มของชะครามยังคงมีมากเกินไป สำหรับขนมข้าวเกรียบปากหม้อไส้ชะคราม พบว่า ผู้บริโภคมีความพึงพอใจในระดับดี เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจและแปลกใหม่แม้จะยังคงกลิ่นรสของชะครามอยู่ แต่ก็ยังแสดงถึงเอกลักษณ์อันโดดเด่นของผักพื้นบ้านชนิดนี้ไว้ได้
อ่านเพิ่มเติมได้ที่
Digital Library >> https://bit.ly/3rE1F1R
*ใช้ฐานข้อมูล TDC จากภายนอกมหาวิทยาลัย ต้องใช้งานผ่านระบบ VPN เท่านั้น >> https://vpn.ssru.ac.th/
![]() |
ชื่องานวิจัย: รายงานการวิจัยเรื่องขนมกุยช่ายและขนมข้าวเกรียบปากหม้อจากชะครามแห้ง
ผู้แต่ง: กัญญาพัชร เพชราภรณ์