การวิจัยที่ศึกษาและวิเคราะห์ถึงแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวชาวไทย และนักท่องเที่ยวชาวตะวันตกในการเข้าร่วมกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอาสาสมัครในเขตกรุงเทพมหานคร ตลอดจนวิเคราะห์ถึงความเหมือนและความแตกต่างของแรงจูงใจของ นักท่องเที่ยวทั้ง 2 กลุ่ม โดยใช้ทฤษฎีแรงจูงใจของแดนน์ เป็นกรอบแนวคิดในการอธิบาย รวมทั้งใช้กระบวนทัศน์เชิงตีความและระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพเป็นแนวทางในการดําเนินการวิจัย ผลการศึกษาพบว่า แรงจูงใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยในการเข้าร่วมกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอาสาสมัคร ประกอบด้วยแรงจูงใจ 4 ประการ ได้แก่ ความต้องการความสุขภายใน ความต้องการประสบการณ์ที่แปลกใหม่ ความต้องการในการพัฒนาตนเอง และการได้ทํากิจกรรมอาสาสมัครที่ตนเองสนใจเป็นการส่วนตัว
สําหรับนักท่องเที่ยวชาวตะวันตกแรงจูงใจในการเข้าร่วมกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอาสาสมัคร จะประกอบด้วยแรงจูงใจ 7 ประการ ได้แก่ ความต้องการช่วยเหลือผู้อื่น ความต้องการประสบการณ์ที่แปลกใหม่ ความต้องการในการพัฒนาตนเอง ความต้องการเรียนรู้วัฒนธรรมไทยในเชิงลึก ความต้องการได้ทําความรู้จักกับเพื่อนใหม่ การได้ทํากิจกรรมอาสาสมัครที่ตนเองสนใจเป็นการส่วนตัว และความต้องการได้มีโอกาสท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานครและประเทศไทย
โดยแรงจูงใจที่เหมือนกันระหว่างนักท่องเที่ยวทั้ง 2 กลุ่ม คือ ความต้องการประสบการณ์ที่แปลกใหม่ ความต้องการในการพัฒนาตนเอง และการได้ทํากิจกรรมอาสาสมัครที่ตนเองสนใจเป็นการส่วนตัว ส่วนแรงจูงใจที่มีความแตกต่างกันคือ ความต้องการความสุขภายใน ความต้องการช่วยเหลือผู้อื่น ความต้องการเรียนรู้วัฒนธรรมไทยในเชิงลึก ความต้องการรู้จักกับเพื่อนใหม่ และความต้องการได้มีโอกาสท่องเที่ยวในประเทศไทย สําหรับแรงจูงใจประการแรกจะพบเฉพาะในกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวไทยเท่านั้น ส่วนแรงจูงใจที่เหลือพบเฉพาะในกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวตะวันตก
อ่านเพิ่มเติมได้ที่
Thai Digital Collection (TDC) >> https://bit.ly/3xMfPSx
*ใช้ฐานข้อมูล TDC จากภายนอกมหาวิทยาลัย ต้องใช้งานผ่านระบบ VPN เท่านั้น >> https://vpn.ssru.ac.th/
![]() |
ชื่องานวิจัย: รายงานการวิจัยเรื่องการศึกษาเปรียบเทียบแรงจูงใจในการเข้าร่วมในกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอาสาสมัครในประเทศไทยระหว่างนักท่องเที่ยวชาวไทยและนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ : กรณีศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร
ผู้แต่ง: รวีวรรณ โปรยรุ่งโรจน์