การวิจัยการพัฒนารูปแบบการผลิตน้ำมันดีเซลจากน้ำมันที่เหลือทิ้ง เป็นการศึกษาเพื่อให้ได้รูปแบบของการผลิตน้ำมันไบโอดีเซลทดแทน ที่เรียกว่า ไบโอดีเซล ที่สามารถนำไปสู่การผลิตในเชิงการค้าได้ โดยอาศัยการเกิดปฏิกิริยาทางเคมีระหว่างโมเลกุลของน้ำมันพืช กับโมเลกุลของเมทานอล โดยโซเดียมไฮดรอกไซด์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา เรียกว่า ปฏิกิริยาทรานส์เอสเทอริฟิเคชั่น (Transesterification Reaction) สำหรับรูปแบบของการศึกษามี 2 ระดับ ได้แก่ การศึกษารูปแบบการผลิตไบโอดีเซลในระดับห้องปฏิบัติการ และการผลิตไบโอดีเซลจากแบบจำลองชุดการผลิตไบโอดีเซลที่มีขนาดกำลังการผลิตไม่เกิน 100 ลิตรต่อครั้ง ในการผลิตไบโอดีเซลในระดับห้องปฏิบัติการเน้นการผลิตที่เป็นการพัฒนาเทคนิค รูปแบบของการผลิตที่ได้ผลผลิตที่สูง ใช้ระยะเวลาน้อย การวิจัยครั้งนี้ได้เลือกประเภทของน้ำมันที่เหลือทั้ง 4 ประเภท ได้แก่ น้ำมันทอดเนื้อหมู น้ำมันทอดเนื้อไก่ น้ำมันทอดปาท่องโก๋ และน้ำมันพืชที่ผ่านการใช้แล้วแบบผสม โดยทำการทดลองเปรียบเทียบกับน้ำมันปาล์มใหม่ที่ยังไม่ได้ผ่านการใช้ พบว่า สามารถนำไปสู่การผลิตในเชิงการค้าได้ และสามารถนำไบโอดีเซลที่ผลิตได้เป็นเชื้อเพลิงทดแทนดีเซลได้เป็นอย่างดี
อ่านเพิ่มเติมได้ที่
Thai Digital Collection (TDC) >> https://bit.ly/318RXdA
*ใช้ฐานข้อมูล TDC จากภายนอกมหาวิทยาลัย ต้องใช้งานผ่านระบบ VPN เท่านั้น >> https://vpn.ssru.ac.th/
---------------------------------------------
ชื่องานวิจัย: รายงานการวิจัยเรื่องการพัฒนารูปแบบการผลิตน้ำมันดีเซลจากน้ำมันที่เหลือทิ้ง
ผู้แต่ง: ชัยศรี ธาราสวัสดิ์พิพัฒน์
เลขเรียกหนังสือ: ว.จ 662.66072 ช438ร
จองอ่านฉบับพิมพ์ที่ >>> https://bit.ly/3yPoK3h