หน้าหลัก > ข่าว > บทความที่น่าสนใจ > ความสำคัญและการเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
ความสำคัญและการเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย

ผู้ดูแลเว็บ admin
2022-06-02 14:55:57

ผศ.ทศพร นามโฮง. (2565, เมษายน), ความสำคัญและการเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย : Food Focus                      Thailand : 17 (193) : 52-56


        ระบบภูมิคุ้มกัน คือกลไกที่ชีวิตพัฒนาขึ้น เพื่อปกป้องกันอันตรายจากสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก หรือสิ่งแปลกปลอมที่ก่อให้เกิดโรคภัยและอันตรายต่าง ๆ อย่างจุลชีพก่อโรค เช่น แบคทีเรีย ไวรัส ปรสิต การได้รับสารก่อภูมิแพ้ที่กระตุ้นให้เกิดการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน โดยเราเรียกสิ่งเหล่านี้ว่า แอนติเจน ภูมิคุ้มกันเปรียบเสมือนร่มป้องกัน “เชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอม” ที่จะเป็นอันตรายต่อร่างกาย

ภูมิคุ้มกันมาจากไหน 

  •    • ภูมิคุ้มกันที่ส่งผ่านทางรกจากแม่สู่ลูกขณะอยู่ในครรภ์ ทารกแรกคลอดจะได้ภูมิคุ้มกันนี้คอยป้องกันโรคขณะร่างกายยัง

   • อ่อนแอ ภูมิคุ้มกันเหล่านี้จะค่อย ๆ ลดลงและหมดไปเมื่อทารกอายุครบ 6 เดือน

  •    • ภูมิคุ้มกันที่ได้จากน้ำนมแม่
  •    • ภูมิคุ้มกันที่ร่างกายสร้างขึ้น เมื่อมีการติดเชื้อตามธรรมชาติ เช่น หัด หัดเยอรมัน คางทูม ไวรัสตับอักเสบบี เป็นต้น
  •    • ภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นจากการได้รับวัคซีน

ระบบภูมิคุ้มกัน ประกอบด้วยระบบย่อย 2 ระบบ ได้แก่

  •    1. ระบบภูมิคุ้มกันโดยกำเนิด หรือระบบภูมิคุ้มกันแบบไม่จำเพาะ ซึ่งติดตัวมาแต่กำเนิด เป็นกลไกป้องกันแอนติเจนแบบไม่

จำเพาะ ได้แก่ น้ำตา มีเอนไซม์ ที่ย่อยผนังเซลล์ของแบคทีเรีย กระเพาะอาหาร หลั่งกรดไฮโดรคลอริคเพื่อทำลายแบคทีเรีย เป็นต้น

  •    2. ระบบภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะ หมายถึง ภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้น ภายหลังจากที่สิ่งแปลกปลอมหรือเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย โดยจะ

ไปกระตุ้นให้ร่างกายสร้าง แอนติบอดี้ ซึ่งสามารถจับกับสิ่งแปลกปลอม ได้อย่างจำเพราะ ทำให้เกิดการต่อต้านและถูกทำลายไป

อาหาร 15 ชนิดที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน

  •    1. ผลไม้ตระกูลส้ม  มีวิตามินซีสูง ช่วยสร้างระบบภูมิคุ้มกัน  โดยการสร้างเม็ดเลือดชาวที่ใช้ต่อสู้กับการติดเชื้อ                        
  •    2. พริกยักษ์สีแดง  เป็นแหล่งของเบต้าแคโรทีน เมื่อเช้าสู่ร่างกายจะเปลี่ยนเป็นวิตามินเอช่วยเรื่องสุขภาพผิวและดวงตา
  •    3. บรอกโคลี่  อุดมไปด้วยวิตามินและเกลือแร่ และยังมีไฟเบอร์ และสารต้านอนุมูลอิสระ
  •    4. กระเทียม  ให้ธาตุสังกะสี และมีสารประกอบของกำมะถัน ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
  •    5. ชิง  ช่วยลดการอักเสบ บรรเทาอาการคลื่นไส้
  •    6. ผักโขม  มีสารต้านอนุมูลอิสระ มีเบต้าแคโรทีน ช่วยเพิ่มความสามารถในการต่อสู้กับการติดเชื้อ
  •    7. โยเกิร์ต  กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน (โดยเฉพาะกรีกโยเกิร์ต)
  •    8. ถั่วอัลมอนด์  มีวิตามินอีสูง ช่วยเป็นสารต้านอนุมูนอิสระที่สำคัญ
  •    9. เมล็ดทานตะวัน   มีแร่ธาตุฟอสฟอรัส แมกนีเซียม วิตามิน บี6 และ อี
  •    10. ชมิ้น  มีสรรพคุณในการต่อต้านสารอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอวัย ชะลอการเกิดริ้วรอย ลดการอักเสบ
  •    11. ชาเชียว  มีกรดอะมีโนซึ่งช่วยในการผลิตสารประกอบที่ต่อสู้กับเชื้อโรค
  •    12. มะละกอ  มีวิตามินซีสูง และมีเอนไซม์ปาเปน  มีผลในการต้านการอักเสบ
  •    13. กีวี  เช่นเดียวกับมะละกอ รวมถึงมีโพแทสเซียม โฟเลต วิตามินเค และวิตามินซี
  •    14. สัตว์ปีก  โดยเฉพาะเนื้อไก่มีวิตามินบี 6 มีส่วนสำคัญในการสร้างเม็ดเลือดแดงที่สุขภาพดี
  •    15. สัตว์ทะเลมีเปลือก เช่น กุ้ง หอย ปู อุดมด้วยธาตุสังกะสี ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย