ศ.นพ.ประกอต วาทีสาธกกิจ. (2566, พฤษภาคม), ร่วมป้องกันเด็กไทย ห่างไกลบุหรี่ไฟฟ้า : หมอ ชาวบ้าน : 529 : 20-22
![]() |
ทุกคนคงทราบถึงพิษภัยอันตรายของการสูบบุหรี่ แต่บรรดาสิงห์อมควันก็ ยังคงอดสูบไม่ได้ ยิ่งมีการผลิตบุหรี่ไฟฟ้าออกมา หลายคนก็คิดว่าคงช่วยลดอันตรายจากการสูบบุหรี่แบบธรรมดาได้ แต่ในความจริงแล้วก็ไม่ได้ปลอดภัย ๑๐๐% แถมยังผิดกฎหมายอีกด้วย
ปัจจุบันมีหลักฐานยืนยันว่าการสูบบุหรี่ไฟฟ้า ก็เพิ่มความเสี่ยงต่อสุขภาพได้เช่นกัน ดังนั้น สําหรับพ่อแม่ ครู โรงเรียน ต้องช่วยกันป้องกันไม่ให้ลูกหลานสูบ
ข้อที่ 1 บุหรี่ไฟฟ้ามีนิโคติน ซึ่งเป็นสารเสพติดเดียวกันกับที่มีในบุหรี่ธรรมดา เมื่อเสพติดแล้วเลิกยากอย่างไร และส่วนใหญ่จะติดไปตลอดชีวิต
ข้อที่ 2 “สูบบุหรี่ไฟฟ้า” ก็เหมือน “สูบบุหรี่ธรรมดา” เพราะเป็นวิธีการนําสารเสพติดนิโคตินที่มีอยู่ในผลิตภัณฑ์ยาสูบทุกชนิดเข้าสู่ร่างกายผ่านทางระบบการหายใจ
ข้อที่ 3 นิโคตินเป็นสารพิษ สารนิโคตินจัดเป็นสารพิษที่ถูกควบคุมโดย กฎหมายควบคุมยาพิษ ในหลายประเทศ
ข้อที่ 4 การเสพติดนิโคตินในทางการแพทย์ จัดเป็นโรคชนิดหนึ่ง เนื่องจากส่งผลต่อระบบการทํางานต่าง ๆ ของร่างกายมากมาย คนที่เลิกเองไม่ได้ต้องได้รับการรักษาจากบุคลากรทางการแพทย์ ด้วยการให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อให้เลิกสูบ
ข้อที่ 5 นิโคตินมีอันตรายต่อสมอง โดยเฉพาะ เด็กและวัยรุ่นที่กําลังเจริญเติบโต ทําให้เกิดการปลี่ยนแปลงของสมอง และทำให้เลิกยากมาก ๆ
ข้อที่ 6 การใช้นิโคตินเพิ่มปัญหา สุขภาพการใช้สารนิโคตินในวัยรุ่นจะเป็นการเพิ่มปัญหาสุขภาพจิต เพิ่มอาการวิตกกังวล และเพิ่มอาการซึมเศร้ามากขึ้น ๒ เท่า ทําให้มีสมาธิและความจําลดลง มีความลําบากในการตัดสินใจ
ข้อที่ 7 เสี่ยงติด “บุหรี่ธรรมดา” เพิ่ม เด็กและเยาวชนที่สูบบุหรี่ไฟฟ้ามีความเสี่ยง ที่จะเปลี่ยนไปสูบบุหรี่ธรรมดา มากกว่าเด็กและเยาวชนที่ไม่ได้สูบบุหรี่ไฟฟ้า ๒-๔ เท่า
ข้อที่ 8 เสี่ยงติดสิ่งเสพติดชนิดอื่น สารนิโคตินทีมีอยู่ในบุหรี่จะส่งผลต่อสมองของวัยรุ่น ทําให้สมองมีความพร้อมที่จะรับและติดสิ่งเสพติดชนิดอื่นเพิ่มขึ้นหลายเท่า ตั้งแต่แอลกอฮอล์ เฮโรอีน โคเคน หรือกัญชา
ข้อที่ 9 ส่งผลร้ายต่อร่างกายระยะยาว นอกจากนิโคตินที่เสพติดแล้ว บุหรี่ไฟฟ้ายังมีสารก่อมะเร็ง โลหะหนัก และสารเคมีอีกมากมายที่ยังไม่รู้ว่าจะส่งผลต่อร่างกายอย่างไรในระยะยาว
ข้อที่ 10 อันตรายระยะสั้น มีเอกสารหลักฐานพบว่า บุหรี่ไฟฟ้าทําอันตรายต่อเนื้อเยื่อของระบบทางเดินหายใจ ปอดและหลอดเลือด เช่น เกิดภาวะปอดอักเสบรุนแรงจนถึงเสียชีวิตได้ และทําให้กล้ามเนื้อหัวใจตายจากการขาดเลือด