จิรายุ แพทองคำ. (2566, เมษายน), ถนอมคุณค่าของผลไม้ให้อยู่นาน : Gourmet & Cuisine : 273 : 76-77
หลายต่อหลายครั้งที่เราอยากเก็บผลไม้อร่อยๆ ไว้กินนาน ๆ แต่ก็กลัวว่าผลไม้เหล่านั้นจะเน่าเสียไปก่อนจะกินหมด หรือปล่อยเน่าไปอย่างน่าเสียดาย แต่ทุกวันนี้มีกรรมวิธีใหม่ ๆ ที่จะยืดอายุผลไม้ได้นานยิ่งขึ้น หนึ่งในนั้น Freeze-Dried Fruit หรือผลไม้ฟรีซดราย คือ กรรมวิธีในการยืดอายุของผลไม้ให้อยู่ได้นานขึ้นโดยไม่เสียคุณค่าสารอาหารในตัว
ฟรีซดราย (Freeze-Drying) แตกต่างจากการอบแห้ง (Dehydration) อย่างไร?
หลักการพื้นฐานของกรรมวิธีถนอมอาหารทั้งสองนี้คือ การนําน้ำออกจากอาหารเพื่อยืดอายุการเก็บรักษา แต่ความแตกต่างนั้นอยู่ตรงที่ฟรีซดราย ซึ่งเป็นการทําให้อาหารแห้งโดยผ่านการเยือกแข็งนั้นสามารถขจัดน้ำออกได้ถึง 98% จากการแช่แข็งภายใต้แรงดันสุญญากาศ ส่วนการอบแห้งนั้นสามารถดึงน้ำออกไปจากอาหารได้ราวๆ 80% เมื่อมีความชื้นน้อยกว่า จึงไม่แปลกที่อาหารฟรีซดรายจะสามารถเก็บรักษาได้นานกว่าโดยไม่ต้องกังวลเรื่องรา แบคทีเรีย หรือการย่อยสลายตามกาลเวลา
ผลไม้ฟรีซดรายมีดีอย่างไร?
เทคนิคการทําให้อาหารแห้งโดยผ่านการเยือกแข็งนั้นช่วยกําจัดน้ำ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลไม้จะถูกเก็บและแช่แข็งอย่างรวดเร็ว เมื่อสุกเต็มที่เก็บสารอาหารทั้งหมดไว้ ดังนั้นผลไม้ฟรีซดรายจึงมีคุณค่า ทางโภชนาการคงอยู่ถึง 90% ทั้งวิตามิน แร่ธาตุ อีกทั้งยังมีแคลอรี่ต่ํา และเป็นแหล่งไฟเบอร์และสารต้านอนุมูลอิสระชั้นเยี่ยม นอกจากนี้ ยังมีอายุการเก็บรักษานานถึง 30 ปี จึงเป็นตัวเลือกทดแทนที่ค่อนข้างสะดวกสบายอย่างมากเลยทีเดียวสําหรับใครก็ตามที่ไม่สะดวกกิน ผลไม้สด หรือต้องการผลไม้ที่เก็บไว้ได้นาน หรือเป็นของขบเคี้ยว เพราะมีสัมผัสกรุบกรอบ และมีรสหวานจากผลไม้อีกด้วย
เลือกกินผลไม้ฟรีซดรายให้ดีต่อร่างกาย
ปัจจุบันนี้มีผลไม้หลากชนิดที่นิยมนํามาทําผลไม้ฟรีซดราย ไม่ว่าจะเป็น แบล็กเบอร์รี กล้วย ราสป์เบอร์รี่ เชอร์รี่ ลูกพีช ฯลฯ ส่วนผลไม้ของไทยเองก็มีนํามาทําเป็นผลไม้ฟรีซดรายด้วยเช่นกันทั้งทุเรียน มะม่วง ขนุน และเงาะ วิธีการเพิ่มความอร่อยให้กับผลไม้ฟรีซดรายสามารถจับคู่ได้กับซีเรียล ข้าวโอ๊ต มัฟฟิน คุกกี้ รวมถึงสมูทตี แต่ด้วยปริมาณน้ำของผลไม้ฟรีซดรายมีน้ำหนักน้อย บวกกับความกรุบกรอบชวนให้เคี้ยวเพลิน ส่งผลให้เราสามารถกินได้ ในปริมาณที่มากกว่าผลไม้สด ซึ่งหมายความว่าเราได้บริโภคน้ำตาลเยอะไปด้วย ดังนั้นจึงควรกินผลไม้ฟรีซดรายในปริมาณที่พอเหมาะ (2566, เมษายน), ทําความรู้จักผลไม้ไม่คุ้นตาแต่น่าลอง