- ดร. ธวัชชัย ลักเซ้ง. (2566, มิถุนายน), ไตรกลีเซอไรด์ไขมันตัวร้ายในตัวคุณ : หมอชาวบ้าน : 530 : 68-69
- ทุกท่านคงจะเคยตรวจเลือดกันมา ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว ผลการตรวจเลือดมักจะประกอบไปด้วย ๒ ส่วนใหญ่ คือค่านํ้าตาล กับค่าไขมัน ถ้าน้ำตาลสูงก็จะเป็นโรคเบาหวาน แต่ถ้าไขมันสูงนี่สิจะเป็นโรคอะไร? ในส่วนของค่าไขมันประกอบไปด้วย ๔ ค่า คือ ค่าคอเลสเตอรอลรวม ค่าไขมันเอชดีแอล ค่าไขมันแอลดีแอล และค่าไขมันไตรกลีเซอไรด์
- ไตรกลีเซอไรด์คืออะไร?
- ไตรกลีเซอไรด์ คือ ไขมันชนิดหนึ่งในร่างกาย ประกอบไปด้วยกรดไขมัน ๓ โมเลกุล ที่จับอยู่กับกลีเซอรอล ๑ โมเลกุล ร่างกายเราจะได้รับไตรกลีเซอไรด์จาก ๒ แหล่ง ด้วยกัน คือ
- 1. ร่างกายสามารถสังเคราะห์ขึ้นจากตับของเราเอง หรือ
- 2. ได้รับจากกินอาหารไขมันโดยตรง เช่น หมูสามชั้น เนย ไขมันต่าง ๆ
- นอกจากนี้ หากร่างกายได้รับไขมันหรือคาร์โบไฮเดรตมากเกินไป สารอาหารเหล่านี้ก็จะถูกเปลี่ยนเป็น ไตรกลีเซอไรด์ เพื่อเป็นพลังงานสํารองของร่างกาย โดยจะถูกเปลี่ยนเป็นชั้นไขมันและสะสมทั้งในช่องท้องและใต้ผิวหนัง การมีไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดมากเกินไปจะทําให้เกิดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคอ้วน มะเร็งเต้านม และโรคอื่น ๆ ได้
- ระดับไตรกลีเซอไรด์ที่เหมาะสมควรเป็นเท่าไหร่?
- เพื่อจะตอบคําถามนี้โดยที่ทุกท่านสามารถนําไปใช้ได้เลย ก็คือ ให้ทุกท่านจดจําไว้ว่า ระดับ ไตรกลีเซอไรด์ที่เหมาะสม คือ น้อยกว่า ๑๕๐ มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร (mg/dl) ครับ
- หากต้องการลดระดับไขมัน ไตรกลีเซอไรด์จะต้องทําอย่างไร?
- หากท่านไปตรวจเลือดแล้วพบว่า ระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์มากกว่า ๑๕๐ mg/dl แสดงว่า ท่านมีความเสี่ยงที่จะมีระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์สูง หากต้องการปรับพฤติกรรมให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น สามารถทําได้ดังนี้ครั
- 1. พยายามควบคุมน้ําหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ โดยนํานํ้าหนักตัวเป็นกิโลกรัมหารด้วยส่วนสูงเป็นเมตรยกกําลังสอง ควรจะมีค่าน้อยกว่า ๒๓ กิโลกรัมต่อตารางเมตรจึงจะถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ
- 2. พยายามดูแลตนเองไม่ให้อ้วนลงพุง วิธีการ คือ หากรอบเอวหรือรอบพุง (รอบสะดือ) ของท่านมีค่ามากกว่าส่วนสูงหารสองแล้ว แสดงว่าท่านมีภาวะอ้วนลงพุงแล้วให้หาทางลดพุงโดยด่วน
- 3. พยายามออกกําลังกายอย่างสม่ําเสมอ
- 4. หลีกเลี่ยงการกินอาหารที่มีแป้งหรือน้ําตาล มาก อาหารที่มีไขมันสูง อาหารที่มีไขมัน ทรานส์ รวมทั้งอาหารที่มีการทอดซ้ำ ๆ
- 5. ลดการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เลิกสูบบุหรี่
- 6. เลือกกินอาหารที่มีไขมันโอเมก้า ๓ สูง เช่น ปลาแซลมอน ทูน่า ซาร์ดีน หรือกินอาหารเสริมที่มีไขมัน โอเมก้า แต่ทั้งนี้ควรปรึกษาแพทย์ที่รักษาดูแลท่านด้วย