จิรายุ แพทองคำ. (2566, กรกฎาคม), Wolffia “ผำ” ซูเปอร์ฟู้ดท้องถิ่นไทย : Gourmet & Cuisine : 276 : 78-79
“ผำ” ซูเปอร์ฟู้ดท้องถิ่นไทย
ผำ มีชื่อเรียกหลายชื่อเลยทีเดียว ทั้ง “ไข่ผำ” และ “ไข่น้ำ” ส่วนในภาษาอังกฤษจะรู้จักกันในชื่อ Wolffia (วูล์ฟเฟีย) เป็นพืชน้ำที่พบได้ในแหล่งน้ำนิ่งทั่วโลก อีกทั้งสามารถเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ใต้ร่มเงาหรือมีแสงน้อย จึงง่ายต่อการปลูกในบ่อเลี้ยงทั้งในที่ร่มและกลางแจ้ง ในประเทศไทยก็เป็นอีกพื้นที่ที่พบการเจริญเติบโตของผำ และมีการบริโภคผำโดยเฉพาะทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ
ที่บอกว่าจิ๋วแต่แจ๋วนั้นไม่เกินจริง เพราะภายในขนาดเท่าหัวเข็มหมุดนั้นอุดมไปด้วย สารอาหารหลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นโปรตีน คาร์โบไฮเดรต เส้นใย แคลเซียม ฟอสฟอรัส กรดอะมิโนจําเป็น และเบตา-แคโรทีน จึงมีฤทธิ์ต่อต้านอนุมูลอิสระสูง แก้ปัญหาอาการท้องผูก อีกทั้งยังมีปริมาณไขมันต่ำ ยิ่งกินบ่อยก็ยิ่งมีส่วนช่วยลดนํ้าตาลในเลือด ลดคอเลสเตอรอลและลดความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด ด้วยเหตุนี้เองที่ทําให้ฝ่ากลายเป็นพืชที่น่าจับตามองในฐานะของซูเปอร์ฟู้ดและแหล่งโปรตีนทางเลือกแห่งอนาคต ตอบรับกระแสแพลนต์เบสที่กําลังมาแรงขึ้นเรื่อยๆ
ด้วยรสชาติและกลิ่นทีค่อนข้างจืด ไม่เหม็นเขียว ผำสดนําไปประกอบอาหารได้หลากหลายเลยทีเดียว ทั้งเมนูแบบไทยๆ อย่างไข่เจียว แกงไข่ผำ ไปจนถึงเมนูอาหารนานาชาติ รวมถึงของหวาน เช่น สลัด ข้าวปั้น ไอศกรีม และสมูทตีโบว์ล ในขณะเดียวกันก็มีการพัฒนาผำ ไปอยู่ในรูปแบบผงโปรตีนจากผักที่สามารถ นําไปใส่ในอาหารทั่วๆ ไปได้ ไม่ว่าจะเป็นขนมปัง แป้งแพนเค้ก เส้นพาสตาหรือแม้แต่ชงเป็นเครื่องดื่มชา นอกจากจะเพิ่มคุณประโยชน์ให้กับมื้ออาหารแล้ว ยังช่วยเพิ่มสีเขียวให้ดูน่ากินขึ้นด้วย
ทุกวันนี้ผำเริ่มมีพื้นที่อวดโฉมในร้านอาหาร และคาเฟชั้นนําหลายร้าน ผสมผสานอยู่ใน เมนูเครื่องดื่มไปจนถึงไฟน์ไดนิ่ง ทั้งที่ร้าน Le Du (ฤดู), Chim By Siam Wisdom MAKAI Acai & Superfood Bar เป็นต้น
ยิ่งไปกว่านั้นยังมีการทดลองปลูกผำในสภาพแวดล้อมแรงโน้มถ่วงต่ำ เพื่อศึกษาถึงความเป็นไปได้ของการใช้ผำผลิตเป็นอาหารสําหรับภารกิจบนอวกาศอีกด้วยจึงไม่แปลกที่ผำจะได้ชื่อว่าเป็นอาหารแห่งอนาคตอย่างแท้จริง