หน้าหลัก > ข่าว > บทความที่น่าสนใจ > จริยธรรมในการบริหารทรัพยากรมนุษย์
จริยธรรมในการบริหารทรัพยากรมนุษย์

ผู้ดูแลเว็บ admin
2022-09-30 14:25:19

สถาพร วิชัยรัมย์. (2565, มกราคม–มิถุนาคม), จริยธรรมในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ : วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัย          ราชภัฏบุรีรัมย์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 14 (1) : 1-16


        สรุป การบริหารทรัพยากรมนุษย์ นับว่าเป็นกระบวนการสําคัญอย่างยิ่งในศาสตร์ที่เกี่ยวกับองค์การและการจัดการรวมทั้งรัฐประศาสนศาสตร์ เพราะเป็นประบวนการที่เป็นปัจจัยในการขับเคลื่อนองค์การไปสู่ความสําเร็จหรือแม้กระทั่งความล้มเหลว การบริหารทรัพยากรมนุษย์จะเกี่ยวข้องกับหลักการสําคัญคือ หลักการได้มา   ได้แก่ กระบวนสรรหาและการคัดเลือก หลักการใช้ประโยชน์ ได้แก่ การบรรจุ แต่งตั้ง การเลื่อนตําแหน่ง การโอน การรับโอน การย้าย หลักการธําารงรักษา ได้แก่ การกําหนดเงินเดือน สวัสดิการ สิทธิประโยชน์ รวมทั้งวินัยและการรักษาวินัย และหลักการพัฒนา ได้แก่ การศึกษาต่อ การเข้ารับการฝึกอบรบ การพัฒนาความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน

        หลักการดังกล่าว เมื่อผู้บริหารจะนําหลักจริยธรรมมาประยุกต์ใช้ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์แล้วก็จะพบว่า หลักการได้มาซึ่งทรัพยากรมนุษย์นั้น จะเกี่ยวข้องกับความรู้ความสามารถที่หน่วยงานจะคัดเลือกบุคคลตามระดับสติปัญญาเป็นหลักซึ่งจะสอดคล้องกับดอกบัวสี่เหล่า หลักการใช้ประโยชน์ซึ่งก็จะเกี่ยวข้องกับลักษณะจริตหรือนิสัยของคนที่ผู้บริหารจะพิจารณามอบหมายงานให้รับผิดชอบ หลักการธํารงรักษาก็จะสอดคล้องกับจริยธรรมในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  1. สมบัติต้นทุน 7  ประการ (กัลยาณมิตตตา สีลสัมปทา สัทธาสัมปทา ทิฏฐิสัมปทา อัปปมาทสัมปทา โยนิโสมนสิการสัมปทา 2. ไตรสิกขา (ศีล สมาธิ ปัญญา) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์    1. การศึกษาอบรม การฝึกทักษะที่เหมาะสม 2. การวางแผนความก้าวหน้าในตําแหน่งงานการครองตนผู้บริหารต้องมีหลักพรหมวิหาร บริหารโดยปราศจากอคติ มีการสงเคราะห์ผู้ใต้บังคับบัญชาและมีจริยธรรมที่เหมาะสมในการพิจารณาความผิด และหลักการพัฒนาจะเกี่ยวกับคุณสมบัติเกี่ยวกับต้นทุนในการพัฒนาและกระบวนการพัฒนาโดยใช้หลักไตรสิกขา ทั้งนี้เมื่อกระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์โดยใช้จริยธรรมที่เหมาะสมและเอื้อต่อกันแล้ว การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในหน่วยงานก็จะส่งผลให้เกิดคุณภาพที่ดีอันจะส่งผลให้องค์การเกิดความเข้มแข็งและมีความยั่งยืน