ผศ. ดร. ฉัตรภา หัตถโกศล. (2564, พฤศจิกายน), โภชนาการกับภาวะวัยทอง : Gourmet & Cuisine . (256) : 70-71
![]() |
ภาวะวัยทองเป็นภาวะหนึ่งที่เกิดขึ่นกับทุกคน โดยช่วงวัยที่เกิดขึ้น คือผู้หญิงอายุ 45-49 ปี ผู้ชายอายุ 40-49 ปี โดยอาการที่แสดงออก คือ ร้อนวูบวาบตามตัว มักเป็นตอนกลางคืน รู้สึกใจสั่น เต้นเร็วและแรง กังวล นอนไม่หลับ หงุดหงิด อารมณ์แปรปรวน ความจำเสื่อมลง หลงลืมได้ง่าย ท้องผูก ชาตามปลายมือปลายเท้า ผิวหนังแห้ง
สาเหตุมาจากการลดระดับของฮอนโมนเพศทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ดังนั้นระดับฮอร์โมนเทสโตโรนจะค่อย ๆ ลดลง ซึ่งภาวะวัยทองหากไม่ดูแลเรื่องอาหารการกินให้ดี อาจทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคอื่น ๆ เช่น โรคกระดูกพรุน โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคอัลไซเมอร์ และกลุ่มของโรคมะเร็ง
อาหารที่ควรรับประทาน
• เน้นอาหารไขมันต่ำ เลี่ยงการทอด บริโภคผักและผลไม้ไม่หวานจัดเป็นประจำ
•อาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น ผลิตภัณฑ์นม ปลาเล็กปลาน้อย และผักใบสีเขียวเข้ม
• อาหารที่มีกากใยสูง ป้องกันไม่ให้ท้องผูกและมะเร็งลำไส้ พบในผักและผลไม้
• อาหารที่อุดมด้วยกรดไขมันจากพืช เช่น ถั่วแดงหลวง เมล็ดพืชต่าง ๆ เช่น เมล็ดฟักทอง ข้าวโอ๊ต
• อาหารที่มีวิตามินบางชนิดที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น วิตามินอี (ข้าวโพด งา) วิตามินซี (ส้ม มะเขือเทศ) และธาตุซีลีเนียม (อาหารทะเล เนื้อสัตว์)
• อาหารที่ไม่แนะนำ / ควรหลีกเลี่ยง
• อาหารที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง เช่น อาหารที่ไหม้เกรียม อาหารหมักดอง (วัยทองเป็นวัยที่เสี่ยงต่อ
การเป็นมะเร็ง)
• อาหารหวานจัด ทั้งขนมหวาน และผลไม้ที่มีรสหวานจัด เช่น ทุเรียน ลำไย
• เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ น้ำอัดลม
• อาหารปรุงแต่งต่าง ๆ ได้แก่ อาหารหวาสจัด อาหารสำเร็จรูป อาหารที่มีสารเคมีเป็นส่วนผสม และโซเดียมที่มี
อยู่ในเกลือ ผงชูรส
• อาหารที่มีส่วนผสมของไขมันอิ่มตัวสูง เช่น หมูสามชั้น ไอซกนรใหงสย ๆ อาหารจานด่วน มันฝรั่งทอดกรอบ
โดนัท เป็นต้น
• อาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง เช่น เครื่องในสัตว์ อาหารทะเล
• หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็มจัด เนื่องจากเป็นการเพิ่มความเสี่ยงให้กระดูกบางลง