![]() |
ไหว้พระจันทร์
เทศกาลที่มีเรื่องเล่ามากกว่าขนม
ไหว้พระจันทร์ หรือ
Mid Autumn Festival
เป็นประเพณีเซ่นไหว้ผลผลิตการเกษตรของจีนคล้ายกับวันขอบคุณพระเจ้าของชาวตะวันตก
จะจัดขึ้นฤดูใบไม้ร่วง หรือวันขึ้น 15
ค่ำเดือน 8 ของทุกปีตามปฏิทินจีน
ซึ่งเป็นคืนวันเพ็ญที่ดวงจันทร์แจ่มกระจ่าง
งามกว่าวันเพ็ญเดือนอื่นๆ
และกลายมาเป็นประเพณีไหว้พระจันทร์ในที่สุด
ปีนี้ตรงกับวันที่ 10 กันยายน
โดยชาวจีนจะนำผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้ครั้งแรกของปี
มาทำอาหารและขนมเพื่อใช้ในพิธีเซ่นไหว้
และรับประทานร่วมกันเป็นการเฉลิมฉลองการเก็บเกี่ยวผลผลิตใหม่
อีกตำนานหนึ่งที่รู้จักกันแพร่หลายสำหรับวันไหว้พระจันทร์
คือการซ่อนจดหมายลับในขนมไหว้พระจันทร์ที่ใช้แจกจ่ายกัน
เพื่อนัดแนะวันเวลาในการลุกขึ้นต่อสู้กับทหารมองโกล
ขนมไหว้พระจันทร์ที่รู้จักกันดีในเทศกาลนี้
เป็นขนมเค้กเปลือกบางที่มีไส้เป็นถั่วหรือผลไม้บดกวนจนแห้ง
รูปทรงกลมเพื่อให้เข้ากับพระจันทร์
ไส้ที่ใช้กันดั้งเดิมได้แก่ไส้เม็ดบัว
และไส้ธัญพืช 5 ชนิด (โหงวยิ้ง)
ปัจจุบันขนมไหว้พระจันทร์ถูกการดัดแปลงให้ทันสมัยขึ้นทั้งรสชาติและรูปร่าง
โดยไส้แต่ละชนิดจะมีความหมายต่างๆ กัน
เช่น
เม็ดบัว
เป็นสัญลักษณ์ของจิตใจบริสุทธิ์
อายุที่ยืนยาว เกียรติยศ
ความอ่อนน้อมถ่อมตน
และความสงบสุขเหมือนดอกบัว
ธัญพืชรวม 5
ชนิด สัญลักษณ์ของโชคลาภ
และความอุดมสมบูรณ์
•
ลูกพลัม
สัญลักษณ์ของความกล้าหาญและความหวัง
ดุจดังดอกพลัมที่ชูช่อในฤดูหนาว
• ถั่วแดง
ชาวจีนโบราณเชื่อว่าไตเป็นอวัยวะที่ผลิตความกลัวออกมา
ซึ่งการรับประทานถั่วแดงนั้นจะช่วยเพิ่มความกล้าหาญให้กับไตได้
• พิธีไหว้พระจันทร์จะเริ่มต้นหลังพระอาทิตย์ตกดินหรือตอนหัวค่ำ
โดยการตั้งโต๊ะไหว้กลางแจ้ง เช่น
ลานบ้านหรือดาดฟ้า
เครื่องไหว้จะใช้อาหารเจจำนวนคู่
หรืออย่างละ 5
หรืออาจใช้เพียงขนมไหว้พระจันทร์กับเครื่องสำอาง
ของใช้สำหรับผู้หญิง
มีโหลหรือชามใส่น้ำตั้งเอาไว้เพื่อสะท้อนแสงจันทร์
และนำมาอาบหรือพรมตัวเพื่อเป็นสิริมงคล
เรื่องและภาพประกอบ
: รัชนก ทองขาวขำ