![]() |
ฉลากโภชนาการ
เป็นฉลากที่ระบุชนิดและปริมาณของสารอาหารที่อยู่ในบรรณจุภัณฑ์นั้นๆ
ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข
ซึ่งกำหนดให้อาหารทุกชนิดที่ผู้ผลิตไม่ได้เป็นผู้ขายอาหารเองโดยตรงต้องแสดงฉลากบนภาชนะบรรจุ
ประกอบด้วย ชื่ออาหาร วันที่ผลิต
วันหมดอายุ ผู้ผลิต ส่วนประกอบสำคัญ
ปริมาตรสุทธิ
รวมถึงฉลากโภชนาการ
โดยฉลากโภชนาการนี้
อาจจะอยู่ในแบบย่อหรือแบบเต็มก็ได้
รวมถึงฉลากโภชนาการแบบ GDA
หรือฉลากหวานมันเค็ม
โดยฉลากแบบเต็มจะแสดงรายการอาหาร 15
รายการ ฉลากแบบย่อจะแสดงรายการอาหาร 8
รายการ ส่วนฉลากหวานมันเค็ม
จะแสดงเฉพาะพลังงาน น้ำตาล ไขมัน
และโซเดียม
นอกจากนี้ยังต้องระบุปริมาณแนะนำให้บริโภคต่อครั้ง
จำนวนหน่วยบริโภคต่อภาชนะบรรจุ
คุณค่าทางโภชนาการต่อหนึ่งหน่วยบริโภค
และร้อยละของปริมาณที่แนะนำต่อวันอ้างอิงตาม
Thai RDI
สำหรับผู้บริโภคทั่วไป
สสส.
มีคำแนะนำการเลือกซื้ออาหารจากการอ่านฉลากโภชนาการดังนี้
ตรวจสอบพลังงาน
ของว่างของกินเล่น ไม่ควรเกิน 100-150
กิโลแคลอรีแต่หนึ่งหน่วยบริโภค
อาหารมื้อหลักควรอยู่ในช่วง 400-600
กิโลแคลอรีต่อหนึ่งหน่วยบริโภค
- ตรวจสอบน้ำตาล ไม่ควรเกิน 24
กรัมต่อวัน หรือประมาณ 6
ช้อนชา
-
ตรวจสอบไขมัน ไม่ควรเกิน 65
กรัมต่อวัน
-
ตรวจสอบโซเดียม ไม่ควรเกิน 2,000
มิลลิกรัมต่อวัน หรือประมาณ 1
ช้อนชา
การอ่านฉลากโภชนาการก่อนการเลือกซื้ออาหารจึงเป็นเรื่องที่ผู้บริโภคควรให้ความสำคัญ
เพื่อเลือกรับประทานอาหารให้เหมาะสมกับตนเอง
และหลีกเลี่ยงอาหารที่อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ