เข้าสู่ฤดูหนาว สิ่งหนึ่งที่จะมาเยือนชาวกรุงเทพฯ ในทันทีนอกจากมวลอากาศเย็น ก็น่าจะเป็นฝุ่น PM 2.5 ที่เป็นปัญหามลพิษทางอากาศสำคัญในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
ฝุ่น
PM 2.5 (Particulate Matters) คือ
ฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน
หรือมีขนาดประมาณ 1 ใน 25
ของเส้นผ่านศูนย์กลางของเส้นผมมนุษย์
เกิดขึ้นจากกิจกรรมหลายชนิด อาทิเช่น
การเผาไหม้ของเครื่องยนต์ และการก่อสร้าง
ซึ่งเป็น 2
สาเหตุหลักของมลพิษทางอากาศในเมืองใหญ่
ลักษณะของเมืองที่มีตึกสูง
การระบายอากาศทำได้น้อย
ไปได้ทิศทางเดียวต้องลอยขึ้น
ร่วมกับอากาศที่มีหมอกในตอนเช้า ลมนิ่ง
และมีสภาพอากาศปิด
ทำให้มีการสะสมของฝุ่นละอองในอากาศเพิ่มขึ้น
ฝุ่น
PM 2.5 สามารถรวมตัวกับสารมลพิษ
เช่นสารไฮโดรคาร์บอน และโลหะหนักในอากาศ
และด้วยขนาดที่เล็กมากจึงสามารถลอดผ่านการกรองของขนจมูก
ไปยังหลอดลม
และลงลึกจนถึงถุงลมปอดและซึมเข้าสู่กระแสเลือด
เพิ่มโอกาสของโรคหัวใจและโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ
ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ โรคปอด เช่น
หอบหืด ถุงลมโป่งพอง
ต้องระวังสุขภาพเป็นพิเศษ
เนื่องจากฝุ่นนี้จะทำให้โรคกำเริบได้ง่าย
รวมถึงอาการแพ้ทางผิวหนังและเยื่อบุตา
ในระยะยาวจะทำให้การทำงานของปอดถดถอย
อาจเกิดโรคถุงลมโป่งพองได้แม้จะไม่สูบบุหรี่ก็ตาม
ในช่วงเวลาที่ฝุ่นละออง PM2.5 เกินค่ามาตรฐาน ควรหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้ง ควรอยู่ในบ้านหรือในอาคารที่มีเครื่องฟอกอากาศชนิดที่มี HEPA filter
เมื่อจำเป็นต้องออกนอกบ้าน
ควรสวมใส่หน้ากากชนิดที่สามารถกันฝุ่น
PM2.5ได้ และใส่ให้ถูกวิธี อาบน้ำ
ล้างหน้าให้สะอาดทันที
หลังจากต้องสัมผัสกับฝุ่นมลพิษ
หากมีอาการผิดปกติควรรีบไปพบแพทย์
เรื่องและภาพประกอบ
: รัชนก ทองขาวขำ