กระแสความนิยมนำพืชสมุนไพรไทยมาอุปโภคบริโภค มีมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน การนำสมุนไพรที่เป็นยาจากธรรมชาติมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ทั้งเป็นยาบรรเทาอาการเจ็บป่วย บำรุงสุขภาพและความงาม บ้างก็ใช้ได้ผลดี บ้างก็ใช้ผิดวิธีจนเกิดโทษ ถึงแม้จะมาจากธรรมชาติ แต่ผู้ใช้ก็ควรศึกษาถึงสรรพคุณ ประโยชน์ และโทษของสมุนไพรชนิดต่าง ๆ จากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ และอย่าหลงเชื่อเพียงข้อมูลที่แชร์ต่อ ๆ กันมาเท่านั้น
ศึกษาถึงคุณสมบัติต้านเชื้อจุลินทรีย์ของสมุนไพรไทยในกลุ่มยาอายุวัฒนะ จากผลงานวิจัยของอาจารย์ ดร.รัตนา ปานเรียนแสน, รองศาสตราจารย์ ดร.วิชัย เชิดชีวศาสตร์ และคุณสุบงกช ทรัพย์แตง ที่ได้ร่วมศึกษาวิจัยและทดลองทางวิทยาศาสตร์ เพื่อทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อจุลินทรีย์ของสารสกัดสมุนไพรทั้ง 10 ชนิด 13 ตัวอย่าง เช่น สารสกัดจากคนทีสอ ทิ้งถ่อน วัวเถลิง เลี่ยน บัวบกป่า กำลังเสือโคร่ง กวาวเครือดำ และกันเกรา เป็นต้น ที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ก่อโรค อาจจะเป็นกลไกหนึ่งที่ช่วยทำให้ตำรับยาที่มีสมุนไพรกลุ่มนี้ มีสรรพคุณเป็นยาอายุวัฒนะ โดยการเพิ่มความสามารถในการต้านทานจุลินทรีย์ก่อโรคบางชนิดไม่ให้เจริญเติบโตในร่างกายได้
สามารถศึกษาเพิ่มเติมจากฉบับออนไลน์ได้ที่>>> https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show...
*** การเข้าใช้งานฐานข้อมูล TDC จากภายนอกมหาวิทยาลัย ต้องใช้งานผ่านระบบ VPN เท่านั้น คลิก>>> https://vpn.ssru.ac.th/ ***
ชื่องานวิจัย: รายงานการวิจัยเรื่องการศึกษาคุณสมบัติต้านเชื้อจุลินทรีย์ของสมุนไพรไทยในกลุ่มยาอายุวัฒนะ
ผู้แต่ง: รัตนา ปานเรียนแสน, วิชัย เชิดชีวศาสตร์ และสุบงกช ทรัพย์แตง