หน้าหลัก > ข่าว > เรียนรู้นอกห้องเรียน > ตัวละครลับเบื้องหลัง พระอภัยมณี
ตัวละครลับเบื้องหลัง พระอภัยมณี

ผู้ดูแลเว็บ admin
2024-10-10 16:41:03

        ในประวัติศาตร์การพิมพ์ของไทย นอกจากหมอบลัดเลย์ที่ได้ตั้งโรงพิมพ์ขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 แล้ว ยังมีหมอสอนศาสนาอีกท่านหนึ่งที่ได้จัดตั้งโรงพิมพ์ขึ้นเพื่อพิมพ์หนังสือศาสนาแต่กลับประสบความสำเร็จอย่างยิ่งในการพิมพ์และขายวรรณกรรมของไทย โดยเฉพาะผลงานของสุนทรภู่

        แซมมวล เจ สมิท หรือหมอสมิทได้เดินทางเข้ามาในสยามในฐานะผู้เผยแผ่ศาสนาคริสต์ราวปี พ.ศ. 2392 และได้ตั้งโรงพิมพ์ขึ้นในกรุงเทพฯ เพื่อพิมพ์คัมภีร์และคำสอนในศาสนา แต่ภายหลังพบว่าโรงพิมพ์นี้ได้ออกสิ่งพิมพ์ทางศาสนาเพียง 2 รายการเท่านั้น ที่เหลือเป็นนิราศ สุภาษิต พงศาวดาร และนิทานคำกลอน ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการเผยแผ่ศาสนาแต่อย่างใด

        นิทานคำกลอนเหล่านี้ โดยเฉพาะงานของสุนทรภู่ เช่น พระอภัยมณี ได้รับความนิยมอยู่ในสังคมไทยมาก่อนแล้วในฐานะมุขปาฐะและการแสดง ซึ่งมีข้อจำกัดในการเผยแพร่และเสี่ยงต่อการสูญหายไป โรงพิมพ์ของหมอสมิทจึงทำให้ผลงานเหล่านี้แพร่หลายไปได้กว้างขวางยิ่งขึ้น มีตัวตนเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์มาจนถึงปัจจุบัน

        In addition to Doctor Bradley, who created a printing house during King Rama III's reign, another religious missionary founded a printing house to print religious publications but was very successful in printing and distributing Thai literature. Especially the works of Sunthorn Phu.
        Samuel J. Smith, or Dr. Smith, traveled to Siam as a Christian missionary around 1849 and established a printing house in Bangkok to publish theological works. However, it was later determined that this printing firm had only printed two religious works. The rest consists of nirat, proverbs, chronicles, and tales that have nothing to do with religious promotion.
        These works and poetry, notably Sunthorn Phu's compositions, such as Phra Aphai Mani, have already gained popularity in Thai society in the form of oral speeches and performances, which have limited distribution and risk being forgotten. Dr. Smith's printing house made the writings more publicly available, and they have been preserved as historical documentation to this day.

#SSRUlibraryRecommendation
  • เล่าเรื่องพระอภัยมณี / นายตำรา ณ เมืองใต้ (ฉบับปรับปรุงใหม่) (2548) 895.911 น473ล
  • เล่าเรื่องพระอภัยมณี / ชัยวัฒน์ สีแก้ว (2549) 895.911 ช432ล
  • พระอภัยมณี...มาจากไหน? / ทศพร วงศ์รัตน์ (2550) 895.911 ท237พ
  • พระอภัยมณี 1 = Phra Aphai Mani I / สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (2542) 895.911 พ415
Written, translated, and illustrated by: Ratchanok T.